มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย”
มีข้อพิจารณาอยู่ 3 ประการ
1. เป็นสัญญาที่ฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่ง ในการที่ฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน เข้าลักษณะประกันวินาศภัย คือถ้ามีภัยเกิดขึ้นตามที่กำหนดไว้ ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้
ส่วนการที่ฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เข้าลักษณะประกันภัยประเภทกำหนดจำนวนเงินแน่นอน หรือสัญญาประกันชีวิต ซึ่งผู้รับประกันภัยจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสียหายว่ามีเพียงใด หากมีเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญา
2. มีเงื่อนไขแห่งการใช้เงิน คือ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคตอันเป็นวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญา แสดงให้เห็นความไม่แน่นอนของหนี้ฝ่ายผู้รับประกันภัย ซึ่งแล้วแต่เงื่อนไขดังกล่าวว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนหนี้ของผู้เอาประกันภัยที่ต้องส่งเบี้ยประกันภัยนั้นแน่นอนเสมอ ที่กฎหมายแยกวินาศภัยกับเหตุการณ์อย่างอื่น เนื่องจากลักษณะที่แตกต่างของสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเท่าที่เสียหายจริงๆ จะเรียกเกินเป็นกำไรมิได้เป็นอันขาด (ฎ 64/2516) ส่วนที่ว่าเหตุการณ์อย่างอื่นในอนาคตนั้นได้แก่ประกันชีวิตคือ ความตาย
วินาศภัยที่ประกันภัยต้องมีลักษณะไม่แน่นอน ซึ่งอยู่ในความหมายที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 861 ว่า หากมีขึ้น (contingent loss) เหตุการณ์อย่างอื่นที่ระบุในสัญญาก็ต้องเป็นเหตุการณ์ในอนาคต เหตุการณ์หรือวินาศภัยที่เกิดขึ้นแล้วจะเอามาเป็นเหตุประกันภัยไม่ได้
ฎ. 2513/2518 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์สิ้นอายุเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ต่อมาวันที่ 24 กรกฎาคมเกิดอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 22 กรกฎาคม กรณีเช่นนี้ ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในสัญญาประกันภัยในส่วนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรับประกันวินาศภัยที่เกิดขึ้นแล้ว โดยศาลฎีกาวินิจฉัยคำว่า วินาศภัยหากมีขึ้นตามมาตรา 861 ว่า หมายถึง วินาศภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากวันทำสัญญา วินาศภัยที่เกิดขึ้นแล้วจะเอามาประกันภัยไม่ได้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุอายุการประกันภัยย้อนหลังเป็นวันที่ 22 กรกฎาคม ก่อนเกิดวินาศภัยก็หาทำให้ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์นั้นได้ไม่
3. บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ผู้มีหน้าที่ส่งเบี้ยประกันเรียกว่า ผู้เอาประกันภัย เบี้ยประกันนี้เป็นเงินอาจส่งเป็นงวดหรือส่งเป็นก้อนก็ได้
Blog Archive
Popular Posts
-
กฎหมายประกันภัย บททั่วไป ประกันภัยมีลักษณะเป็นการเฉลี่ยทรัพย์บางส่วนจากสมาชิกผู้เอาประกันมารวมไว้เป็นกองกลางจำนวนห...
-
American Life Insurance the most trusted company which has a reputation of about 87 years. This company is one of the globally recognized l...
-
หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความสุจริต กล่าวคือ คู่กรณีในสัญญาประกันภัยจะต้องปฏิบัติต่อกันโ...
-
เจ็บหน้าอก อวัยวะที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้วยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เ...
-
หลักสำคัญในกฎหมายประกันภัย 1. หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย ม. 863 บัญญัติว่า “ อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้ม...
-
ฎ 3888/2537 การรับช่วงสิทธิฟ้องเรียกจากผู้ทำละเมิด ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคแรก อันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ...
-
Chapter 8: Managing Project Risk True/False 1. Failure to follow a formal risk management plan will often cause organization...
-
Health Insurance Health Insurance Quotes [ http://www.vimo.com ] PR: 5 Get free health insurance quotes. Compare with the top plans nation...
-
รอบรู้เรื่อง.....ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดย....อ้อยใจ แดงอินทร์ ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 25...
-
อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882) ในกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย มีอายุควา...