รอบรู้เรื่อง.....ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดย....อ้อยใจ แดงอินทร์ ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หมายถึง “ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญ

รอบรู้เรื่อง.....ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

โดย....อ้อยใจ แดงอินทร์

ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม จากความหมายดังกล่าวทำให้เรามองเห็นภาระหน้าที่ของผู้ทำบัญชีที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพบัญชี ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 จะมีการประกาศใช้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี (ผู้ประกอบการ) อาจจะไม่ยุ่งยากในการจัดหาบุคคลที่พอจะมีความรู้ในเรื่องการทำบัญชีมาปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือสถานประกอบการ แต่เมื่อพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีการประกาศใช้และได้เน้นในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ โดยเฉพาะ ในประเด็นคุณวุฒิ คุณสมบัติ และการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของผู้ทำบัญชี จึงทำให้วงการวิชาชีพบัญชีได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงข้อกำหนดดังกล่าว ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับการเป็นผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ดังต่อไปนี้

ผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้แก่ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชี คือ

1. ผู้ทำบัญชีที่เป็นลูกจ้าง ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี ชื่อตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชี

2. ผู้ทำบัญชีที่เป็นผู้รับจ้าง

2.1 กรณีจ้างสำนักงานบัญชี ผู้ทำบัญชีมีดังนี้

หัวหน้าสำนักงาน สำนักงานบัญชีที่เป็นบุคคลธรรมดา

หุ้นส่วนผู้จัดการ สำนักงานบัญชีเป็นคณะบุคคล

กรรมการ หุ้นส่วน สำนักงานบัญชีเป็นนิติบุคคล

ผู้ช่วยทำบัญชี สำนักงานรับทำบัญชีมากกว่า 100 ราย

2.2 ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ

3. ทำบัญชีในฐานะอื่น ๆ เช่น กรรมการ หุ้นส่วน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีได้ทำบัญชีของตนเอง

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี

1. มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอ

3. ไม่เคยต้องโทษให้จำคุก เนื่องจากความผิดตามกฎหมายการบัญชีกฎหมายสอบบัญชี กฎหมายวิชาชีพบัญชี ยกเว้น พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

4. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (ใช้ตั้งแต่ 23 พ.ย. 2547 เป็นต้นไป)

คุณวุฒิของผู้ทำบัญชี

1. อนุปริญญา หรือ ปวส. บัญชี หรือเทียบเท่า เป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด ที่ตั้งตามกฎหมายไทยขนาดเล็กที่มีองค์ประกอบต่อไปนี้

1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท

1.2 สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และ

1.3 รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท

2. จบปริญญาตรีทางบัญชี หรือเทียบเท่า สำหรับกิจการต่อไปนี้ ที่ผู้ทำบัญชีต้องจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป

2.1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้าน หรือมีสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม เกิน 30 ล้าน

2.2 บริษัทมหาชนจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

2.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย

2.4 กิจการร่วมค้าประมวลรัษฎากร

2.5 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

3. ไม่มีคุณสมบัติตาม พรบ. การบัญชี แต่ผ่านการอบรม (ไม่เกิน 8 ปี นับแต่กฎหมายประกาศใช้)

หน้าที่ของผู้ทำบัญชี

ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญชีดังนี้

1. พรบ. การบัญชี 2543 กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี (ใช้แบบ ส.บช.5) หรือแจ้งเปลี่ยนแปลง (ใช้แบบ ส.บช. 6) ภายใน 60 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม มีโทษปรับไม่เกิน10,000 บาท (มาตรา 27 )

2. ผู้ทำบัญชีต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามพรบ. วิชาชีพบัญชี 2547 (มาตรา 44) ดังนั้นผู้ทำบัญชีก็จะต้องไปแจ้งต่อ สภาวิชาชีพบัญชี หากไม่ปฏิบัติ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 40 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 69)

ค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี

- วุฒิปริญญาตรี ปีละ 500 บาท

- ต่ำกว่าปริญญาตรี ปีละ 300 บาท

ค่าสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

- สมาชิกสามัญ ปีละ 500 บาท

- สมาชิกวิสามัญ ปีละ 500 บาท

- สมาชิกสมทบ ปีละ 300 บาท

- สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

กำหนดจ่ายชำระค่าสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

ปีแรก ได้ตลอดปีปฏิทิน

ปีถัดไป ภายในเดือนตุลาคมของปีนั้น แต่ไม่เกินเดือนมกราคม ของปีถัดไป

แบบฟอร์มสภาวิชาชีพบัญชี

แบบสวบช. 1 สมัครสมาชิก

สวบช. 2 ขึ้นทะเบียน

สวบช.3 ต่ออายุสมาชิก

นอกจากนี้พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 นับเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ที่ส่งผลให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการทำบัญชีต้องมีการตื่นตัวที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว และในช่วงเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2551 ก็เป็นช่วงของเดือนที่นับชั่วโมงทุกรอบ 3 ปี ซึ่งครบกำหนดที่ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องมีการทำกิจกรรมที่พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพ

การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี

Continuing Professional Development (CPD) คือ การกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีว่า จะต้องมีกิจกรรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี ตามกฎเกณฑ์ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด ทุก ๆ รอบ 3 ปี ( 27 ชั่วโมง)

การนับชั่วโมง CPD ในแต่ละกิจกรรม

1. การอบรมหรือสัมมนา ตามระยะเวลาที่เข้าร่วมอบรม/สัมมนา

2. การเป็นอาจารย์ในสถาบันศึกษา วิชาละ 9 ชั่วโมง ไม่นับซ้ำหัวข้อเดิมและนับได้ไม่เกิน 18 ชั่วโมงใน 3 ปี (2 วิชา)

3. ศึกษาเพิ่ม คุณวุฒิสูงขึ้น

สาขาบัญชี นับได้ 27 ชั่วโมง

สาขาที่เกี่ยวข้อง นับได้ 18 ชั่วโมง

ศึกษาเพิ่ม แต่วุฒิไม่สูงกว่าเดิม นับได้ 9 ชั่วโมง

4. ศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี นับได้วิชาละ 6 ชั่วโมง

5. เรื่องอื่น ๆ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

(ข้อ 1 นับเป็น CPD การบัญชี ส่วนข้อ 2-5 นับเป็น CPD อื่น ๆ )

ระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี

- ชั่วโมงทุกรอบ 3 ปี

- ปีละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

- ใน 3 ปี เป็นเรื่องบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

กิจกรรมที่สามารถนับชั่วโมง CPD

1. การบัญชี ได้แก่ วิชาเอกบังคับและเอกเลือกที่สอนในระดับไม่ต่ำกว่า ปวส. ทางการบัญชี

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

3. กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร

4. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

วิธีการนับชั่วโมงทุกรอบ 3 ปี

1. ให้นับตามปีปฏิทิน

2. นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดจากการแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี

3. สำหรับรอบ 3 ปีแรก สามารถนำชั่วโมง CPD ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2547 หรือตั้งแต่วันที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีไปรวมในรอบแรกได้

การแจ้งรายละเอียดกิจกรรม CPD

- ใช้แบบ ส.บช.7

- แจ้งทางไปรษณีย์ หรือทางอินเทอร์เน็ตใน www.dbd.go.th ภายใน 60 วัน นับแต่สิ้นปีปฏิทินของทุกปี

- เก็บหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม CPD ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันสิ้นปีของวันที่สิ้นสุดการทำกิจกรรมนั้น ๆ

ส่วนแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้สามารถ Downlod ได้ที่ นักบัญชีดอทคอม www.nukbunchee .com หรือ สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th

ดังนั้นหากเราอยู่ในวิชาชีพการบัญชีหรือเกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องยากที่จะปฏิบัติตนให้เป็นไปตามที่พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดไว้

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.nukbunchee .com

personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance