ประกันวินาศภัย คือ ประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นไม่แน่นอนในอนาคตตามที่ตกลงกันไว้และความเสียหายนั้นสามารถประมาณเป็นเงินได้ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.1 ประกันวินาศภัยทั่วไป วินาศภัย หมายถึง บรรดาความเสียหายอย่างใดๆ ซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ก็สามารถที่จะเอาประกันภัยได้ทั้งสิ้น เช่น การประกันอัคคีภัย พายุ แผ่นดินไหว ประกันยานยนต์ เครื่องจักร ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันการโจรกรรม ประกันภัยพืชผล ประกันภัยสัตว์เลี้ยง ประกันกระจกของร้านขายของ ประกันภัยความสุจริตของลูกจ้าง ประกันภัยการสูญเสียกำไรจากภาวะเศรษฐกิจ ส่วนความโศกเศร้าเสียใจที่ต้องสูญเสียของรักไปไม่สามารถประมาณเป็นเงินได้ จึงเอาประกันไม่ได้
1.2 ประกันภัยรับขน เป็นสัญญาคุ้มถึงวินาศภัยทุกอย่าง เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า เรือจม การปล้นลักขโมย ระเบิด เป็นต้น แต่ต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดขึ้นระหว่างขนส่ง ทั้งสิ่งของที่ขนส่งไปตามลำพังหรือสิ่งของที่ขนส่งไปพร้อมกับคนโดยสาร หรือที่ติดตัวไปกับผู้โดยสาร ในกรณีเป็นประกันภัยรับขนทางทะเลไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. ม. 868 แต่ให้ใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล ได้แก่ สนธิสัญญา คำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ แนวปฏิบัติหรือจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
1.3 ประกันภัยค้ำจุน หรือ ประกันภัยความรับผิด คือ การที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้เงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันหรือผู้ที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิด เช่น
1. รับประกันความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจต่อบุคคลอื่น เช่น เจ้าของโรงแรม บ้านเช่า โรงละคร ร้านอาหาร ตกลงทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนในกรณีบุคคลภายนอกได้รับอุบัติเหตุเพราะเข้าไปในสถานที่ไม่ว่าอุบัติเหตุต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน
2. รับประกันภัยความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ เช่น แพทย์-คนไข้ เภสัชกร-ผู้ซื้อยา ทนายความ-ลูกความ ผู้ทำบัญชี สถาปนิก วิศวกร
3. รับประกันความรับผิดชอบส่วนบุคคลต่อบุคคลอื่นเช่น ประกันภัยคุ้มครองบุคคลที่สามในกรณีขับรถชนบุคคลอื่นเสียหาย บริษัทประกันจะต้องรับผิดต่อผู้เสียหายตามจำนวนประกันภัยที่กำหนดไว้
2. ประกันชีวิต คือ สัญญาซึ่งผู้รับประกันตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ในเมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ได้เอาประกันชีวิตไว้ได้ตายลง หรือเมื่อผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่จนถึงวันที่ตกลงกันไว้ ดังนั้นสัญญาประกันชีวิตอาจทำได้ 3 แบบ
1. แบบซึ่งอาศัยความทรงชีพของบุคคล เช่น มีการตกลงกันว่าถ้านาย ก. ผู้เอาประกันมีชีวิตถึง 60 ปี ผู้รับประกันจะต้องใช้เงินให้ แต่ถ้านาย ก. ตายก่อนอายุ 60 ปี ผู้รับประกันไม่ต้องใช้เงินให้
2. แบบซึ่งอาศัยความมรณะของบุคคล เช่น ถ้านาย ก. ผู้เอาประกันตายภายในเวลา 20 ปีนับแต่วันทำสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้ ถ้านาย ก. ไม่ตายภายใน 20 ปี ผู้เอาประกันไม่ได้รับการใช้เงินจากผู้รับประกัน
3. สัญญาประกันชีวิตแบบสะสมทุนหรือสะสมทรัพย์ นำสองแบบข้างต้นมารวมกัน เป็นสัญญาอาศัยกำหนดเวลาเป็นหลัก คือ ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้หากผู้เอาประกันตายลง ผู้รับประกันจะใช้เงินให้ และเมื่อถึงกำหนดเวลาผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ ผู้รับประกันก็ต้องใช้เงินเช่นเดียวกัน
Blog Archive
Popular Posts
-
กฎหมายประกันภัย บททั่วไป ประกันภัยมีลักษณะเป็นการเฉลี่ยทรัพย์บางส่วนจากสมาชิกผู้เอาประกันมารวมไว้เป็นกองกลางจำนวนห...
-
American Life Insurance the most trusted company which has a reputation of about 87 years. This company is one of the globally recognized l...
-
หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความสุจริต กล่าวคือ คู่กรณีในสัญญาประกันภัยจะต้องปฏิบัติต่อกันโ...
-
เจ็บหน้าอก อวัยวะที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้วยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เ...
-
หลักสำคัญในกฎหมายประกันภัย 1. หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย ม. 863 บัญญัติว่า “ อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้ม...
-
ฎ 3888/2537 การรับช่วงสิทธิฟ้องเรียกจากผู้ทำละเมิด ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคแรก อันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ...
-
Chapter 8: Managing Project Risk True/False 1. Failure to follow a formal risk management plan will often cause organization...
-
Health Insurance Health Insurance Quotes [ http://www.vimo.com ] PR: 5 Get free health insurance quotes. Compare with the top plans nation...
-
รอบรู้เรื่อง.....ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดย....อ้อยใจ แดงอินทร์ ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 25...
-
อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882) ในกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย มีอายุควา...