สัญญาประกันภัยมีแบบหรือไม่ ?

5. สัญญาประกันภัยมีแบบหรือไม่ ?
1. สัญญาประกันภัยนั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีแบบแต่อย่างใด
2. สัญญาประกันภัย เกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แม้ไม่มีหลัก ฐานเป็นหนังสือ ก็มีผลเป็นสัญญาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
3. เพียงแต่ ม.867 ว.1 กำหนดไว้ว่า สัญญาประกันภัยนั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของเขาเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
4. การประกันภัยนั้น ม.867 ว.2 และ ว.3 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องออกกรมธรรม์ประกันภัย (กรมธรรม์ประกันภัยมิใช่สัญญาประกันภัย) มอบให้ผู้เอาประกันภัยยึดถือไว้ กรมธรรม์นี้จะต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกัน และมีรายการแสดงไว้ 11 รายการ
ทั้งนี้ หากข้อความไม่ครบทั้ง 11 รายการ ไม่เป็นเหตุให้สัญญาประกันภัยเสียไป

ข. ประกันภัยมีกี่แบบ ?
ประกันภัย ตามความหมายในมาตรา 861 แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบประกันวินาศภัย
เป็นการประกันความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงิน
ได้ ตามที่ได้นิยามไว้ใน ม.869 เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม อุบัติเหตุ โจรปล้น
2. แบบประกันชีวิต
เป็นการประกันความสูญเสียในชีวิตและร่างกายของบุคคลซึ่งไม่อาจ
คำนวณเป็นเงินได้ แม้บางครั้งจะเจ็บป่วยให้ต้องรักษาพยาบาลเสียเงินไป
จำนวนหนึ่งนั้น ก็ไม่ใช่ค่าของชีวิต
นอกจากนี้ ประกันวินาศภัย (บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ม.869
882) ยังจำแนกออกเป็น
- ประกันภัยในการรับขน (ม.883
886)
- ประกันภัยค้ำจุน (ม.887
888)

ค. สาระสำคัญเกี่ยวกับประกันวินาศภัย
1. วินาศภัย ตาม ม.869 หมายถึง บรรดาความเสียหายใดๆ ที่สามารถประมาณเป็นจำนวนเงินได้
2. วินาศภัย เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
(1) เกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคล
……….หมายถึงบุคคลเป็นผู้ก่อวินาศภัยขึ้น ไม่ว่าจะโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือด้วยวิธีการงดเว้นการกระทำใดๆ เพื่อให้เกิดวินาศภัยนั้นขึ้น เช่น นาย ก.ขับรถไปชนรถยนต์ที่เอาประกันไว้ไม่ว่าจงใจหรือประมาท ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
(2) เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
………ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น
- เกิดจากธรรมชาติ เช่น ลมพายุ ไฟไหม้ป่า น้ำท่วม แผ่นดิน ไหว ภูเขาไฟระเบิด
- เกิดโดยสภาพ แต่ไม่ใช่การกระทำของบุคคล เช่น กำแพงที่มีอายุเก่าแก่ล้ม
- เกิดจากของตกหล่นโดยธรรมชาติ
- เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ที่กำลังจะเน่า
- เกิดจากความเสื่อมสภาพของสารเคมี
3. สัญญาประกันวินาศภัย ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องในค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์อาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน

4. ลักษณะการประกันภัยหลายรายนั้น ม.870 และ ม.871 วางหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้คือ
(1) สาระสำคัญ
- ผู้เอาประกันเป็นบุคคลคนเดียวกัน
- วัตถุแห่งประกันภัยสิ่งเดียวกัน
- เหตุแห่งความเสียหายเดียวกัน
- ผู้รับประกันภัยต่างรายกัน (มากกว่า 1 ราย)
- ระยะเวลาคุ้มภัยเดียวกัน
(2) สัญญาประกันภัยทั้งหลายลงวันที่เดียวกัน ให้ถือว่าทำพร้อมกัน
………เมื่อนำเงินซึ่งเอาประกันมารวมกันแล้ว มากกว่าค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ผู้รับประโยชน์จะได้รับค่าสินไหมเพียงเท่าค่าความเสียหายเท่านั้น โดยผู้รับประกันภัยแต่ละรายแบ่งความรับผิดตามส่วนที่รับประกันไว้
(3) สัญญาประกันภัยทั้งหลายทำสืบเนื่องกันเป็นลำดับกัน
……….ผู้รับประกันรายแรกต้องรับ
ผิดเพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้ายังไม่พอกับค่าเสียหายอยู่เท่าใด ให้เรียกเอาจากผู้รับประกันรายถัดไป
เช่นนี้จนกว่าจะคุ้มวินาศภัย
(4) การทำสัญญาประกันภัยหลายราย ไม่ว่ากรณีใด ถ้าผู้เอาประกันภัยยอมสละสิทธิเรียก
ร้องแก่ผู้รับประกันรายใด การชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นอันระงับไปเฉพาะรายนั้น ผู้รับประกันภัย
รายอื่นยังต้องชำระค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนต่อไป
5. ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิได้รับการชำระค่าเบี้ยประกันครึ่งหนึ่งตามสัญญาจากผู้เอาประกันภัย (ม.872)
6. ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ปรากฏว่ามูลประกันภัยได้ลดน้อยถอยลง ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย และขอลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย (ม.873)
7. คู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ และต่อมาพิสูจน์ได้ว่าราคาที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินไป ผู้รับประกันภัยมีสิทธิขอลดค่าสินไหมทดแทน และคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันได้ตามส่วนพร้อมดอกเบี้ย (ม.874)
8. ถ้าวัตถุที่เอาประกันไว้ต้องเปลี่ยนการครอบครองไปอยู่กับผู้อื่น จะโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยผลของกฎหมายก็ดี สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย (ม.875)
……แต่ถ้าวัตถุที่เอาประกัน ภัยนั้น เมื่อโอนไปอยู่กับบุคคลอื่นแล้ว เป็นผลให้การใช้วัตถุที่เอาประกันนั้นเปลี่ยนแลงไปและมีเสี่ยงภัยมากขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาประกันภัยนั้นเป็นโมฆะ
9. กรณีที่ผู้รับประกันต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิเลือกจัดการกับสัญญาประกันภัยของตนได้ 2 ประการ คือ เรียกให้หาผู้รับประกันภัยรายใหม่ หรือบอกเลิกสัญญาประกัน
ภัยนั้น (ม.876 ว.1)
10. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นเสีย เว้นแต่ ผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันครบแล้ว ผู้รับประกันจะบอกเลิกสัญญาไม่ได้ (ม.876 ว.2)
10. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการตีราคาวินาศภัย ผู้รับประกันรับผิดชอบ (ม.878)
11. เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น มีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย (ม.879) คือ
(1) เหตุวินาศภัยนั้นเกิดเพราะความทุจริตของผู้เอาประกันภัย
(2) เหตุวินาศภัยนั้นเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
12. กรณีที่วินาศภัยนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อผู้รับประกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันไปจำนวนเท่าใด ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอก เพื่อจะไปเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกนั้น (ม.880)
13. อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน (ม.882) กำหนดไว้ว่า
(1) กรณีเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
(2) กรณีเรียกให้ใช้เงินประกันภัยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะเรียกให้ใช้
(3) กรณีเรียกให้คืนเบี้ยประกันภัยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะเรียกให้คืน

.
Life Insurance Knowledge:Life Insurance , private, death, employee pensions and annuities,life insurance, educational, life insurance companies
personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance