การบริหารความเสี่ยงภัยสำหรับธุรกิจ
เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ มีประดิษฐ์
ในการทำธุรกิจใด ๆก็ตาม ย่อมมีความเสี่ยงภัยเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นธุรกิจขนาดย่อมจึงจำเป็นต้องต้องหาวิธีการต่างๆ ที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัยและจะต้องพิจารณาถึงลักษณะของความเสี่ยงภัย ตลอดจนหาทางเลือกในการลดความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงภัย (Risk) คือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินอันเนื่องมากจากภัยต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ รถชน และการขาดทุนเนื่องจากการตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาด หรือเป็นการเบี่ยงเบนไปจากผลที่ต้องการ หรือที่คาดหวัง ความเสี่ยงภัยจึงเป็นโอกาสซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดการสูญเสียหรือโชคร้าย ความเสี่ยงภัยของธุรกิจขนาดย่อมจึงอาจหมายถึงการสูญเสียสินทรัพย์และรายได้ของบริษัท ในที่นี่คำว่าสินทรัพย์ (Assets) หมายถึง สินค้าคงเหลือ (Inventory) อุปกรณ์ (Equipment) และปัจจัยอื่น ๆ เช่น พนักงานของบริษัทและชื่อเสียง (Reputation) ของบริษัท
การจัดประเภทความเสี่ยงภัยของธุรกิจขนาดย่อม สามารถจำแนกได้หลายวิธี ดังนี้
(1) การจำแนกความเสี่ยงภัยจากการสูญเสีย (Loss) ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นไฟไหม้ การเกิดอุบัติเหตุ การลักขโมย และการฉ้อโกง ซึ่งเป็นการสูญเสียในเรื่องที่สำคัญ
(2) การจำแนกความเสี่ยงภัยลักษณะที่ไม่สามารถรับประกันได้ เช่น ความล้าสมัยของผลิตภัณฑ์
(3) การจำแนกโดยมุ่งที่ทรัพย์สินของธุรกิจ ประกอบด้วย ความเสี่ยงภัยด้านการตลาด (Market-oriented risk) ความเสี่ยงภัยด้านทรัพย์สิน (Property-oriented risk) ความเสี่ยงภัยด้านบุคลากร (Personnel-oriented risks) และความเสี่ยงภัยด้านลูกค้า (Customer- oriented risks) ความเสี่ยงภัยใน 3 ประเด็นสุดท้าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ความเสี่ยงภัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน (Risks associated with property) จะหมายถึงสินทรัพย์ที่มองเห็นได้ เมื่อสินทรัพย์ที่มองเห็นได้เหล่านี้สูญหาย (Lost) หรือถูกทำลาย (Destroyed) ก็จะทำให้เกิดการสูญเสีย ซึ่งทรัพย์สินจำนวนมากเหล่านี้สามารถทำประกันได้ เช่น อัคคีภัย ภัยธรรมชาติ การลักขโมย การฉ้อโกง
1.1 อัคคีภัย (Fire) สิ่งก่อสร้าง เครื่องมือ และสินค้าคงเหลือ อาจถูกไฟไหม้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งระดับความเสี่ยงภัยและความสูญเสียอาจแตกต่างกันสำหรับธุรกิจแต่ละชนิด โดยเฉพาะการเกิดไฟไหม้ไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุโดยตรงต่อการสูญเสียทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะถึงแม้จะหยุดดำเนินงาน แต่ก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ค่าเช่า เงินเดือน ค่าควบคุมดูแล และค่าเบี้ยประกันภัยต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการสูญเสียที่น้อยที่สุดจากการที่ธุรกิจต้องหยุดชะงัก บริษัทอาจมีทางเลือก เช่น การระมัดระวังอย่างรอบคอบในการใช้ไฟ การหาอุปกรณ์ดับเพลิง การสร้างทางหนีไฟ การประกันอัคคีภัย การเข้มงวดด้านระเบียบวินัยในการทำงาน การซ้อมดับเพลิง
1.2 ภัยธรรมชาติ (Natural disasters) เช่นน้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ธุรกิจต้องหยุดดำเนินงาน ถึงแม้บริษัทจะหาวิธีป้องกัน เช่น การตั้งบริษัทอยู่บนพื้นที่ที่นำท่วมไม่ถึง
ธุรกิจขนาดย่อมจำเป็นต้องมีการประกันภัยเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากภัยธรรมชาติ การประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้จากน้ำท่วมก็สามารถประกันได้ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มักมีความเสียหายจากน้ำท่วมด้วย นอกจากนี้ภัยที่เกิดจากลมก็สามารถประกันได้ เช่น จากพายุเฮอริเคน หรือ การประกันภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว เป็นต้น
1.3 การลักขโมยและการฉ้อโกงทางธุรกิจ (Burglary and business swindles) ได้แก่ บุคคลที่บุกรุกเข้ามาเพื่อก่ออาชญากรรม เช่น ขโมยเงินหรือสินค้า โดยการประกันภัยจะคุ้มครองเกี่ยวกับการลักขโมยซึ่งธุรกิจขนาดย่อมอาจสามารถทำการป้องกันได้ด้วยการติดสัญญาณกันขโมย กล้องวิดีโอวงจรปิด หรือจัดหาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากบริษัทเอกชน
การฉ้อโกงทางธุรกิจทำให้บริษัทเกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมากในแต่ละปี บริษัทขนาดเล็กมักจะเกิดการฉ้อโกงมาก เช่น การปลอมเครื่องจักรที่ส่งซ่อม การส่งใบเก็บเงินในสินค้าที่ไม่มีในรายการซื้อขาย การขายพื้นที่การโฆษณาในสิ่งพิมพ์ไม่ตรงตามความต้อง การเก็บค่าธรรมเนียมล่วงหน้า ซึ่งความเสี่ยงภัยชนิดนี้สามารถหลีกเลี่ยงโดยที่ผ็จัดการธุรกอจจะต้อฝมีความรอบคอบและมีความระมัดระวัง
1.4 การขโมยสินค้า (Shoplifting) ประมาณได้ว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ที่อาจหยิบสินค้าออกจากร้านโดยไม่จ่ายเงินค่าส่งสินค้า ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนไม่มากนักร้านค้าย่อยก็มีการสูญเสียมากมาย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการสูญเสียจากสินค้าเท่านั้น แต่ยังสูญเสียค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาความปอดภัยอีกด้วย
การหยิบของออกจากร้านโดยไม่จ่ายเงินมักปรากฎเสมอในการขายแบบวางกับพื้น (Sales floors) หรือจุดขายที่เคาน์เตอร์ก่อนออกจากร้าน (Checkout counter) ของร้านขายปลีก การขายแบบวางกับพื้นนั้นผู้ที่หยิบของไปโดยไม่จ่ายเงินมักเป็นผู้ขโมยสินค้าแบบไม่ใช่มืออาชีพ โดยการหยิบไปอย่างง่าย ๆ และรวดเร็ว โดยซ่อนไว้ในเสื้อผ้า กระเป๋าสะพาย หรือกระเป๋าถือ ผู้ขโมยของที่เป็นมืออาชีพจะมีความชำนาญมากกว่า ซึ่งจะมีการออกแบบเครื่องมือเพื่อป้องกันการถูกจับได้ เช่น เสื้อผ้าแบบมีกระเป๋ากว้างและมีที่ซ่อน และกระเป๋าถือที่มีเครื่องกำบังสัญญาณสำหรับสินค้าซึ่งมีการติดป้ายกันขโมยเวลาผ่านประตูสำหรับตรวจ ซึ่งจะช่วยให้สามารถผ่านไปได้ทั้งสินค้าขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ธุรกิจจึงต้องหาวิธีการป้องกันการขโมยสินค้า ซึ่งมี 10 วิธีดังนี้ (1) ฝึกอบรมพนักงานให้ตระหนักว่าภัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ (2) ติดประกาศให้ทั่วร้านเป็นการเตือนผู้ที่จะขโมยของในร้านว่า เขาจะถูกฟ้องร้องและดำเนินคดีจนถึงที่สุด แล้วติดตามผลจากการติดประกาศขู่นั้น (3) แขวนกระจกนูนเพื่อทำให้มองเห็นในจุดที่ลับตาและติดสัญญาณเตือนในทางออกฉุกเฉิน (4) วางสินค้าที่มีราคาแพงไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย โดยวางสินค้าเป้าหมายซึ่งเป็นรายการที่มีความเสี่ยงภัยมากที่สุดไว้ในที่เสี่ยงน้อยที่สุด เช่น เอาไว้ใกล้จุดตรวจสินค้าตรงทางออก (5) จัดวางสินค้าให้ง่ายต่อการตรวจตรา (6) จัดช่องทางการไหลของลูกค้าที่จะผ่านจุดพนักงานเก็บเงินและกั้นจุดที่ไม่ได้ใช้สำหรับเป็นทางออก (7) ดูแลลูกค้าให้อยู่ในสายตา (8) ตรวจตราห้องลองเสื้ออย่างถี่ถ้วน และเขตที่เป็นพนักงานโดยเฉพาะ (9) เข้มงวดแบบฟอร์มเครื่อวแต่งกายสำหรับพนักงานควรเป้นเสื้อผ้าสีเรียบโดยเฉพาะสำหรับผู้ดูแลร้าน ใช้กระจก 2 หน้า เพื่อให้เกิดความระแวงว่ามีคนจับตาดูอยู่ ใช้การขายด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ใช้กล้องโทรทัศน์ และใช้เครื่องส่งสัญญาณเวลามีผู้หยิบสินค้าออกไปร้านโดยไม่ได้จ่ายเงิน (10) ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้ามาตรวจในร้านเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในจุดที่เสี่ยงอันตราย
การเข้าใจในพฤติกรรมของบุคคลที่หยิบเอาของออกจากร้านโดยไม่จ่ายเงินจะสามารถช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจปัญหาซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีลักษณะแตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป ปัญหาการขโมยสินค้านี้สามารถทำให้ลดลงด้วยการเรียนรู้วิธีป้องกันการขโมย
2. ความเสี่ยงภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลกร (Risks associated with personnel) การสูญเสียที่เกิดจากบุคคลจะเกิดจากการกระทำของพนักงาน การขโมยของพนักงานเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องที่สำคัญต่อธุรกิจขนาดย่อมจำนวนมาก การเจ็บป่วยทางกาย หรือการได้รับบาดเจ็บของพนักงานสามารถทำให้ธุรกิจได้รับความสูญเสียได้เช่นเดียวกัน ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจากบุคลากร มี 3 ชนิด คือ (1) ความไม่ซื่อสัตย์ของพนักงาน (2) การแข่งขันกับพนักงานที่เคยทำงานมาก่อน และไปทำงานให้คู่แข่งขัน (3) การสูญเสียผู้บริหารคนสำคัญ
การจัดการความเสี่ยงภัย
การจัดการความเสียงภัย (Risk management) เป็นวิธีการที่จะต่อสู้กับความเสี่ยงภัยซึ่งได้รับการออกแบบไว้เพื่อรักษาสินทรัพย์และศักยภาพในการหารายได้ของบริษัท โดยปกติการจัดการความเสี่ยงภัยจะมีความหมายที่กว้าง คือครอบคลุมทั้งความเสี่ยงที่สามารถประกันภัยได้ และความเสี่ยงที่ไม่สามารถรับประกันภัยได้รวมถึงสิ่งที่ไม่มีการประกันภัยเพ่อลดความเสี่ยงภัยทุกชนิดด้วย
การจัดการความเสี่ยงภัยในธุรกิจขนาดย่อมจะแตกต่างจากการจัดการความเสี่ยงภัยในธุรกิจขนาดใหญ่ บริษัทประกันภัยมักไม่ต้องการประกันภัยกับบริษัทขนาดย่อม ในบริษัทขนาดใหญ่ความรับผิดชอบด้านการจัดการความเสี่ยงภัยมักมอบหมายให้ผู้จัดการที่ทำหน้าที่เฉพาะเป็นผู้รับผิดชอบ ในทางตรงข้ามผู้จัดธุรกิจขนาดย่อมมักเป็นผู้จัดการเสี่ยงภัยเองโดยทั่วไปธุรกิจขนาดย่อมมักจะไม่คล่องตัวและมีความล่าช้าในการจัดการความเสี่ยงภัย ในทางปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงภัย ผู้จัดการธุรกิจขนาดย่อมต้องรวบรวมลักษณะต่าง ๆ ของความเสี่ยงภัยที่กำลังเผชิญในธุรกิจของเขา และหาวิธีต่อสู้กับวามเสี่ยงภัยเหล่านั้น
สรุปประเด็น
ธุรกิจจึงต้องหาวิธีการป้องกันการขโมยสินค้า ซึ่งมี 10 วิธีดังนี้ (1) ฝึกอบรมพนักงานให้ตระหนักว่าภัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ (2) ติดประกาศให้ทั่วร้านเป็นการเตือนผู้ที่จะขโมยของในร้านว่า เขาจะถูกฟ้องร้องและดำเนินคดีจนถึงที่สุด แล้วติดตามผลจากการติดประกาศขู่นั้น (3) แขวนกระจกนูนเพื่อทำให้มองเห็นในจุดที่ลับตาและติดสัญญาณเตือนในทางออกฉุกเฉิน (4) วางสินค้าที่มีราคาแพงไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย โดยวางสินค้าเป้าหมายซึ่งเป็นรายการที่มีความเสี่ยงภัยมากที่สุดไว้ในที่เสี่ยงน้อยที่สุด เช่น เอาไว้ใกล้จุดตรวจสินค้าตรงทางออก (5) จัดวางสินค้าให้ง่ายต่อการตรวจตรา (6) จัดช่องทางการไหลของลูกค้าที่จะผ่านจุดพนักงานเก็บเงินและกั้นจุดที่ไม่ได้ใช้สำหรับเป็นทางออก (7) ดูแลลูกค้าให้อยู่ในสายตา (8) ตรวจตราห้องลองเสื้ออย่างถี่ถ้วน และเขตที่เป็นพนักงานโดยเฉพาะ (9) เข้มงวดแบบฟอร์มเครื่องแต่งกายสำหรับพนักงานควรเป็นเสื้อผ้าสีเรียบโดยเฉพาะสำหรับผู้ดูแลร้าน ใช้กระจก 2 หน้า เพื่อให้เกิดความระแวงว่ามีคนจับตาดูอยู่ ใช้การขายด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ใช้กล้องโทรทัศน์ และใช้เครื่องส่งสัญญาณเวลามีผู้หยิบสินค้าออกไปร้านโดยไม่ได้จ่ายเงิน (10) ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้ามาตรวจในร้านเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในจุดที่เสี่ยงอันตราย
กรณีศึกษา
กาแฟการ์เต็ล (เฟรนด์ ชอยส์) / กาแฟโรแดง
จากหนังสือเฟรนไชส์ สำนักพิมพ์เค แอนด์ พี บุ๊ค จำกัด
ประวัติความเป็นมา
แนนจะดูแลในส่วนของร้านกาแฟโรแดง แต่ในส่วนของบริษัท การ์เต็ล จะมีกาแฟโรแดง กาแฟสวัสดี กาแฟโรแดงอยู่ตลาดบองมาเช่ อยู่ทางเข้าวัดเสมียนนารี ส่วนกาแฟสวัสดีอยู่ที่ดอนเมือง อยู่ข้างในส่วนขาออกของเทอมินอล 2 กาแฟการ์เต็ลเป็นบริษัท ที่ซัพพอร์ตกาแฟ 2 ส่วนนี้ คือเหมือนเราเป็นลูกอยู่ในการ์เต็ล
แนนบอกได้คร่าว ๆ เพราะรายละเอียดจริง ๆ คุณต้น (ร.ต.ต. ทวยเทพ เดวิด วิบูลย์ศิลป์) จะให้รายละเอียดจริงมากกว่า ที่มาที่ไปคือเกิดจากการที่คุยกันในครอบครัว ดูภาพยนตร์เรื่องหนึ่งคือเรื่องเอ้าท์ ออฟ อาฟริกา ก็มีแรงบันดาลใจ จากตรงนั้น มีแรงบันดาลใจจากการดูภาพยนตร์เรื่องนั้น แต่ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ ของเราเป็นเฟรนด์ชอยส์ เฟรนด์ชอยส์ คือ อย่างแฟรนไซส์นี่ ถ้าลูกค้ามาถึงแนนขอเงิน พอเราได้เงินเราเซ็ตให้หมดในรูปแบบที่เราจัดขึ้น
แต่เฟรนด์ชอยส์คือ เราแนะนำการทำร้านกาแฟ ลูกค้าอาจจะมีร้านกาแฟในใจอยู่แล้ว อย่างวันนี้มาอบรม มาถึงมาถามว่ากาแฟจะใช้อะไร ตัวไหนดี นมจะใช้อะไร ชั่งอย่างไร ตกแต่งเป็นอย่างไร เป็นเฟรนด์ไงคะ เป็นเพื่อนมาปรึกษากัน
หุ้นส่วน
มีคุณพ่อ คุณแม่ ของคุณต้นและคุณต้น แนนมาช่วยในส่วนของร้านกาแฟโรแดง มีคุณยุ่น หรือคุณทศพร ชูสิทธิและคุณแม็ค หรือคุณสิโรจน์ สุวามินเป็นทีมงานของเรา
การก่อตั้ง
บริษัทกาแฟ จดชื่อเป็นบริษัทได้ประมาณ 1 ปี เฟรนด์ชอยส์เพิ่งมาทำได้ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ เราเพิ่งมาจริงจังกับเฟรนด์ชอยส์ประมาณ 2-3 เดือน แต่การแนะนำกาแฟเราทำมาโดยตลอด ตั้งแต่เรามีความรู้เราศึกษากัน ใครมาปรึกษาเราให้คำปรึกษาโดยตลอด
การลงทุนครั้งแรก
ต้องมีคนช่วยแนะนำลูกค้า คือเรื่องอุปกรณ์ เครื่องชงกาแฟ เครื่องบดกาแฟ คร่าว ๆ ก็คือของเราเป็นลักษณะเงิน เท่าไรมาคุยกันที่แนนบอกอย่างนี้ก็เพราะว่า เราจะได้เลือกสิ่งที่เราต้องใช้ได้สมมุติว่าในชั้นเริ่มต้นคุณมีหนึ่งแสน เงินหนึ่งแสนในที่นี้ต้องแบ่งเป็นเครื่องกาแฟเท่าไร นี่คือค่าอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมกับพื้นที่และสถานที่ที่ต้องตกแต่งนะคะ ดูว่าเครื่องกาแฟระดับไหนเหมาะกับจำนวนนี้อย่างสมมิตว่าเครื่องกาแฟประมาณ 3 หมื่นบาท อุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นแก้ว (เราไม่แนะนำให้ใช้แก้วพลาสติก) อุปกรณ์ต่าง ๆ เล็กน้อยในร้าน ในส่วนอื่น เราจะไปเลือกหาในราคาที่เหมาะสม คือเอาเงินมาหาของสมมุติว่า ถ้าเราเอาของปั๊บเงินมันจะบานไปเรื่อย ๆ ถูกไหมคะ ถ้าเราหาเครื่องกาแฟมาเท่านี้อย่างอื่นค่อยมาบวก แนนไม่แนะนำ มันจะคุมไม่อยู่เลย คือเราอยากได้ทุกอย่างที่ดี
รายได้ต่ำสุด + สูงสุด
เมษายนต่ำสุด เพราะร้อนมาก ปัญหาที่ตั้งร้านกาแฟสำคัญเพราะไม่ได้ติดแอร์หน้าฝน หน้าหนาวขายดีเพราะหน้าฝนลูกค้าติด คืออดไม่ได้ และบางทีเป็นบรรยากาศที่เห็นสายฝนแล้วอยากนั่ง ความชื้นนี่คะสบาย ๆ หน้าหนาวขายดี แน่นอนกลิ่นกาแฟความอบอุ่นต่าง ๆ ก็ถึงบอกว่าเดือนธันวาคมที่ผ่านมาร้านโรแดง ขายดีเคยได้ 7-8 หมื่น หักค่าใช้จ่ายแล้ว (กำไรอย่างเดียว) เวลาที่แบ่งอัตราส่วนในร้านที่ 30 : 30 : 30 ก็ 10 ที่กำไรมัน 10 % มันจะมีการคิดค่าเสื่อมราคา ค่าเงินเดือน พนักงาน ค่าต้นทุนอาหาร เครื่องดื่ม ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากว่าร้านที่เราทำอยู่ เราอิงกับส่วนใหญ่ คือ เราตั้งอยู่ในตลาด บอง มาเช่ ในเดือนธันวาคม คนจะเยอะมาก บวกกับบรรยากาศ อากาศด้วย แต่ในธันวาคมมันก็ต้องเอาไปเฉลี่ยกับอีก 12 เดือนอีก เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายได้อีก
ปัญหาของร้านกาแฟ
เครื่องมีปัญหา เครื่องมันรวน เครื่องมันพัง ใช้ไม่ได้ เพราะว่าถ้าเครื่องใช้ไม่ได้ก็ปิดร้านเลย ก็ต้องมีช่างมีช่างเป็นเซอร์วิสหลังการขายของการซื้อเครื่อง แรก ๆ จะเจอภาวะเครื่องเสียแล้วไม่มีช่าง เราก็ต้องมีเครื่องสำรอง ช่วยชีวิตได้ แต่ก็ต้องบอกลูกค้าเพราะเครื่องสำรองมันจะได้รสชาติที่ต่างไป ไม่เหมือนเครื่องหลัก ไม่ดีเท่าเครื่องหลัก
ทำเล
หากว่ามีลูกค้าเปิดร้านใกล้กัน เราจะแนะนำเขาอย่างไร เรายอมหรือเปล่า มันเกินอำนาจเรา เพราะราไม่ได้ขายแฟรนไชส์ ซึ่งแฟรนไชส์เซเว่นเขาจะไม่ให้ได้อยู่ใกล้กัน ซึ่งจริง ๆ เดี๋ยวอยู่ฝั่งถนนตรงข้ามกัน เขาก็เปิดได้ คือเรามองที่ตั้งกาแฟว่าเขาใช้กาแฟตัวเดียวกันไหมมากกว่า เราอาจจะไม่สามารถห้ามไม่ให้เขาเปิดติดกันได้ แต่เราจะสามารถแนะนำกาแฟเพราะเราจะคุมโทนกาแฟ เพราะเราไม่อยากให้ปลายทางตีกันเอง เพราะมันจะตายกันเอง เราก็ตายด้วย
วัตถุดิบ
กาแฟเราเอามาจากสวนทศเทพ ต.นางแล อ.ฮอด จังหวัดเชียงราย สวนทศเทพ และกาแฟจากทางเหนือด้วย
การขนส่ง
เราใช้บริษัทขนส่งให้ลูกค้าตามต่างจังหวัด มีล่าช้าบ้างแต่ไม่ใช่ที่เรา เกิดจากบริษัทขนส่ง มีบ้างค่าใช้จ่ายแต่ละจังหวัด ดูจากปริมาณ เราดูจากยอดซื้อ ถ้าซื้อเท่านี้ส่งฟรี หรือซื้อเท่านี้ ค่าจัดส่งเราดูปริมาณ การสั่งซื้อยู่ที่จำนวน
เรื่องท้อแท้
เรื่องท้อไม่มากเท่าไรนัก เหนื่อยมากกว่า ๆ ส่วนของการผลิต ของแนนไม่มีท้อแท้
คติประจำใจ
ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ แนนจะบอกลูกน้องที่ร้านเลยว่า ห้าม พูดคำว่าไม่ได้ ในใจแนนจะบอกเลยว่าถ้าใครถามอะไร แนนจะไม่บอกว่าไม่ได้ ซึ่งบางทีมันอาจจะทำไม่ได้จริง ๆ ก็ได้ แต่ขอให้ลองก่อน