กฎหมายประกันภัย
บททั่วไป
ประกันภัยมีลักษณะเป็นการเฉลี่ยทรัพย์บางส่วนจากสมาชิกผู้เอาประกันมารวมไว้เป็นกองกลางจำนวนหนึ่ง เมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายตามสัญญา ผู้รับประกันภัยจะนำเงินจากกองกลางใช้ให้แก่ผู้เสียหาย จากหลักการนี้ผู้รับประกันภัยต้องพิจารณาโอกาสแห่งภัยที่จะเกิดขึ้นว่าควรเป็นเท่าใด เรียกว่า ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Theory of probability) และจำนวนผู้เอาประกันภัยเป็นปริมาณมากพอเพียง เรียกว่า ทฤษฎี (Theory of Great Numbers)
ประกันภัย หมายถึง การโอนความรับผิดชอบของผู้เอาประกันภัยไปยังผู้รับประกันภัย โดยมีการสัญญาว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นตามที่ตกลงกันไว้ ผู้รับประกันจะจ่ายค่าเสียหายให้ตามจำนวนที่รับประกัน โดยผู้เอาประกันต้องส่งเงินจำนวนหนึ่งให้ผู้รับประกันเป็นเบี้ยประกัน
ประกันภัย หมายถึง วิธีการเฉลี่ยความเสียหายของบุคคลหนึ่งไปให้แก่บุคคลอื่น เพื่อแบ่งภาระความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นนั้นให้หมดไปหรือเบาบางลง
กฎหมายสำคัญเกี่ยวข้องกับประกันภัย
1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 20 แบ่งเป็น 3 หมวด
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (ม.861-868)
หมวด 2 ประกันวินาศภัย แยกเป็น - ประกันวินาศภัยทั่วไป (ม.869-882)
- ประกันภัยรับขน (ม. 883-886)
- ประกันภัยค้ำจุน (ม. 887-888)
หมวด 3 ประกันชีวิต (ม. 889-897)
2. กฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยเฉพาะ
2.1 พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
2.2 พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535
3. กฎหมายประกันภัยภาคบังคับ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535