วิธีใช้ค่าสินไหมทดแทน
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าการใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องกระทำโดยวิธีใด โดยปกติจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ตามม. 867(4) กำหนดบังคับให้กรมธรรม์ประกันภัยต้องระบุจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ห้ามถ้าคู่กรณีตกลงกันเป็นอย่างอื่น
วิธีใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยมี 4 วิธี ซึ่งผู้รับประกันภัยอาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
1. ทำใช้ หมายถึง จัดการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม วิธีนี้นิยมสำหรับการเกิดความเสียหายบางส่วนและอยู่ในวิสัยที่จะซ่อมแซมเหมือนเดิมได้ เช่น ประกันอุบัติเหตุรถยนต์
2. จัดหาสิ่งทดแทน หมายถึง การจัดหาทรัพย์สินอันใหม่มาแทนทรัพย์สินเดิมที่เสียหาย โดยเฉพาะกับทรัพย์สินบางชนิดที่มีค่าหรือมีราคาพิเศษหรือที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักร ที่มีลักษณะเฉพาะ
3. จ่ายค่าสินไหมทดแทน หมายถึง การจ่ายค่าเสียหายเป็นตัวเงิน
4. การกลับคืนสภาพเดิม หมายถึง กระทำการกลับคืนสภาพเดิมเหมือนก่อนเกิดวินาศภัย เช่น ไฟไหม้โรงงาน ให้ก่อสร้างให้เหมือนเดิม
จำนวนค่าสินไหทดแทนที่จะต้องใช้ให้
ม.877 บัญญัติว่า “ ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
(2) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดวินาศภัย
(3) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นไม่ให้วินาศ
อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และเวลาซึ่งเกิดวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่งจำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้นท่านให้สันนิฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคาเช่นว่านั้น
ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันไว้”
ม.878 บัญญัติว่า “ค่าใช้จ่ายในการตีวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้”
ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง หมายถึง เสียหายเท่าไรผู้รับประกันภัยก็ชดใช้เพียงเท่านั้นแต่ไม่เกินจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ โดยตีราคาความเสียหาย ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดเหตุวินาศภัย มีการคิดค่าสินไหมทดแทน 2 กรณี ได้แก่
1.1 กรณีเอาประกันภัยเต็มราคาทรัพย์ เช่น เอาบ้านไปประกันอัคคีภัย กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย 100.000 บาท เท่าราคาบ้าน ต่อมาไฟไหม้บ้านเสียหายบางส่วนเป็นเงิน 70.000 บาท ดังนี้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแท้จริงเป็นเงิน 70.000 บาท ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนที่เอาประกันภัยตาม ม.877 วรรคท้าย เช่น แม้ความเสียหายจริงจะเป็นเงิน 150.000 บาท ผู้รับประกันภัยคงมีหน้าที่จ่าย 100.000 บาทตามจำนวนที่เอาประกันภัย
1.2 กรณีเอาประกันภัยไม่เต็มราคาทรัพย์หรือเอาประกันภัยต่ำกว่าราคาทรัพย์ การคิดประเภทนี้จะแตกต่างจากปกติ โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันมักจะกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าสินไหมทดแทนเรียกว่า Average Clause กำหนดว่าถ้าวัตถุที่เอาประกันภัยเสียหายแต่บางส่วนและราคาเอาประกันภัยไม่เท่าราคาจริงของทรัพย์ทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าราคาส่วนที่เกินนั้นผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประกันภัยด้วยตนเอง หลักนี้ต้องระบุไว้ในสัญญาหรือกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยจึงจะบังคับได้ หากไม่กำหนดไว้ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้เต็มตามจำนวนที่เสียหายจริง ตัวอย่างเช่น
ประกันอัคคีภัยบ้านราคา 500,000 บาท โดยกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท บ้านเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาท ดังนี้ผู้รับประกันภัยต้องเฉลี่ยความเสียหายตามสัดส่วน
บริษัทรับประกันภัยต้องจ่าย 300,000 x 250,000 = 150,000 บาท
500,000
ผู้เอาประกันภัย 200,000 x 250,000 = 100,000 บาท
500,000
สรุป ผู้รับประกันต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ 150,000 บาท จากจำนวนความเสียหายจริง 250,000 บาท ส่วนที่เหลือ 100,000 บาท ถือว่าผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประกันภัยด้วยตนเอง
2. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย หมายถึง ทำให้บุบสลายหรือทำความเสียหายแก่ตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยเจตนาเพื่อป้องกันมิให้วินาศภัยเกิดแก่ตัวทรัพย์สินนั้น ถ้าได้ทำโดยสมควรเพื่อป้องปัดภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้ เช่น ไฟไหม้บ้านข้างเคียงและอาจลุกลามบ้านที่เอาประกันภัยได้ จึงรื้อหลังคาบ้านหรือฝาบ้านเพื่อไม่ให้ไฟลุกลามหรือช่วยไม่ให้สกัดไฟไม่ให้ลุกไหม้ ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากความเสียหายที่ต้องรื้อหลังคาบ้านหรือฝาบ้านแก่ผู้เอาประกันภัย
3. ค่าใช้จ่ายที่เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ เป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเกิดกับตัวทรัพย์ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายประเภทนี้ด้วยแต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปโดยมีเหตุผลสมควรเพราะในการปัดป้องวินาศภัยมิให้เกิดขึ้นกับตัวทรัพย์ เช่น ไฟไหม้บ้านที่เอาประกันภัย จึงเช่าเครื่องดับเพลิงมาฉีดน้ำมิให้ไฟไหม้ถึงบ้าน หรือ ต้องทำลายรั้วบ้านของผู้อื่นเพื่อให้สามารถเข้าดับไฟได้
ฎ. 5743/2537 โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะที่จำเลยเป็นผู้รับประกันภัย ซึ่งการรับประกันภัยทุกรายต้องมีกรมธรรม์และมีจำนวนเงินที่เอาประกันภัยที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ และมาตรา 877 ห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามวงเงินที่จำเลยรับประกันภัยเท่าที่โจทก์มีสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดสูงกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ย่อมเป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกินกว่าที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย จึงไม่ชอบ
ฎ. 381/2524 รถยนต์เป็นของโจทก์ได้ให้ผู้อื่นเช่าซื้อไป ได้เอาประกันไว้แก่จำเลยในวงเงิน 700,000 บาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ผู้เช่าซื้อคงค้างค่าเช่าซื้ออยู่ 562,508 บาท รถคันพิพาทก็หายไป เช่นนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีปรากฏว่าผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท เมื่อรถยนต์เกิดหายไป ผู้รับประกันภัยก็จะต้องชดใช้ตามจำนวนดังกล่าว จะใช้จำนวนตามที่ผู้เช่าซื้อค้างค่าเช่าซื้อไม่ได้
การประกันภัยหลายราย
ม. 870 บัญญัติว่า “ ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นพร้อมกันเพื่อวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศภัยจริงเท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศภัยจริงแบ่งตามส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประโยชน์ไว้
อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ทำพร้อมกัน
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็นลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยก่อนและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้มจำนวนวินาศภัยนั้นไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นต่อๆกันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ”
ประกันวินาศภัย ผู้เอาประกันภัยจะทำสัญญาไว้กี่รายก็ได้ แต่มิใช่เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนจนครบทุกราย เนื่องจาก กฎหมายถือหลักว่าผู้เอาประกันภัยจะค้ากำไรจากการเอาประกันภัยไม่ได้ การจ่ายค่าสินไหมทดแทนต้องจ่ายตามจำนวนวินาศภัยที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นผู้เอาประกันภัยจึงเรียกค่าสินไหมทดแทนได้แต่เฉพาะเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับจริงเท่านั้น
ประกันชีวิต ผู้เอาประกันจะทำสัญญาประกันชีวิตกับผู้รับประกันกี่รายก็ได้และเมื่อตาย ผู้รับประโยชน์จะเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยทุกรายจ่ายตามจำนวนที่ผู้เอาประกันได้ทำสัญญาไว้ได้
Blog Archive
Popular Posts
-
กฎหมายประกันภัย บททั่วไป ประกันภัยมีลักษณะเป็นการเฉลี่ยทรัพย์บางส่วนจากสมาชิกผู้เอาประกันมารวมไว้เป็นกองกลางจำนวนห...
-
American Life Insurance the most trusted company which has a reputation of about 87 years. This company is one of the globally recognized l...
-
หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความสุจริต กล่าวคือ คู่กรณีในสัญญาประกันภัยจะต้องปฏิบัติต่อกันโ...
-
เจ็บหน้าอก อวัยวะที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้วยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เ...
-
หลักสำคัญในกฎหมายประกันภัย 1. หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย ม. 863 บัญญัติว่า “ อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้ม...
-
ฎ 3888/2537 การรับช่วงสิทธิฟ้องเรียกจากผู้ทำละเมิด ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคแรก อันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ...
-
Chapter 8: Managing Project Risk True/False 1. Failure to follow a formal risk management plan will often cause organization...
-
Health Insurance Health Insurance Quotes [ http://www.vimo.com ] PR: 5 Get free health insurance quotes. Compare with the top plans nation...
-
รอบรู้เรื่อง.....ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดย....อ้อยใจ แดงอินทร์ ผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 25...
-
อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882) ในกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย มีอายุควา...