การประกันภัย

การประกันภัยพืชผลในประเด็นทางกฎหมาย

การศึกษาประเด็นทางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาข้อเสนอถึงพระราชบัญญัติสำหรับการประกันภัยพืชผล สำหรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกัน/ชดเชยความเสียหายของผลผลิตข้าวจากอุทกภัยและภัยแล้งของหน่วยงานภาครัฐ ผลของการศึกษามีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

6.1 การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อพัฒนาพระราชบัญญัติการประกันภัยพืชผล

จากการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

6.1.1 ประเภทของภัย

ภัย หมายถึง สิ่งที่น่ากลัว หรือ อันตราย โดยสามารถแบ่งภัยออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

(1) ภัยจากธรรมชาติ (Natural Perils) หมายถึง เหตุที่อยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะควบคุมได้ เช่น ไฟป่า พายุ ภูเขาไฟระเบิด และก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ โดยมีความร้ายแรงแตกต่างกันไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ได้

(2) ภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น (Human Perils) หมายถึง เหตุที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง อาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในทางอาญา เช่น การลอบวางเพลิง การฆาตกรรม การจลาจล ตลอดจนภัยสงคราม

(3) ภัยจากเศรษฐกิจ (Economic Perils) หมายถึง เป็นภัยพิบัติที่มีเหตุจากสภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาการตลาด ภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อ การว่างงาน การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค หรือราคาสินค้าทางการเกษตร

ไม่ว่าจะเป็นภัยประเภทใด ก็ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจเป็นความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อทางทำมาหาได้


6.1.2 วิธีการจัดการความเสี่ยงภัย

โดยปกติเมื่อมนุษย์มีความเข้าใจถึงภัยหรือความเสี่ยงภัยที่น่าจะเกิดขึ้น มนุษย์ก็พยายามที่จะจัดการกับความเสี่ยงภัยดังกล่าวให้บรรเทาเบาบางลง โดยการวิธีการจัดการความเสี่ยงภัยนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้

- การหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk avoidance) ทำได้โดยการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรืองาน ที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงภัยนั้น เช่น กลัวเครื่องบินตก ก็ไม่ไปนั่งเครื่องบิน กลังขาดทุนก็ไม่กล้าลงทุน หรือลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัยบางครั้งอาจให้ผลเสีย เพราะบางครั้งเราอาจปฏิเสธโครงการที่มีความเสี่ยงสูงแต่มีประโยชน์หรือผลตอบแทนมาก หรือมีประโยชน์ต่อสังคมมาก ซึ่งในท้ายที่สุดก็ไม่ให้เกิดการพัฒนาและอาจดูคล้ายหลีกหนีปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นในการจัดการการเสี่ยงภัยบางกรณี ควรพิจารณาถึงวิธีการนี้เป็นวิธีสุดท้าย

- การลดความเสี่ยงภัย (Risk Reduction) ทำได้โดยอาจลดจำนวนครั้ง (frequency) หรือลดความรุนแรง (severity) ของการเกิดภัย ซึ่งทำได้ 3 วิธี คือ

(1) การป้องกันการเกิดความเสียหาย (Loss prevention) โดยจะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เก่า การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในโรงงาน การตรวจสอบสภาพรถยนต์อยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง การติดตั้งสัญญาณการเตือนภัยกันขโมย เป็นต้น

(2) การควบคุมความเสียหาย (Loss control) วิธีนี้จะทำการขณะ หรือ ภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อควบคุมความรุนแรงของความเสียหายนั้นหรือลดความเสียหายลง เช่น การที่พนักงานดับเพลิงทำการดับเพลิงอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ การที่ผู้เจ็บป่วยรีบไปหาหมอรักษา เพื่อไม่ให้มีอาการหนักมากขึ้น เป็นต้น

(3) การแยกทรัพย์สิน (Separation) วิธีนี้จะกระทำก่อนเกิดความเสียหาย เช่น การเก็บของมีค่าไว้คนละแห่ง เช่น บ้าน ธนาคาร การสร้างโรงงาน และโกดังไว้คนละแห่ง เมื่อเกิดไฟไหม้จะไม่เสียหายทั้งหมด หรือการแยกสินค้าไว้หลายๆโกดังเช่นกัน

- การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk retention) คือ การที่เรายินยอมรับภาระความเสียหายไว้เองหากมีภัยเกิดขึ้น โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจจะรับภาระนี้ไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ การจัดการการเสี่ยงภัยวิธีนี้มีเหตุผล คือ

(1) ภัยที่เกิดขึ้นนั้นก่อให้เกิดความเสียหายน้อยมาก พอที่จะรับภาระได้ เช่น ภัยที่เกิดจากปากกาสูญหายซึ่งราคาไม่แพง

(2) ความเสี่ยงภัยนั้นไม่สามารถโอนไปให้ผู้อื่นได้ เช่น การที่ผู้ส่งออกหรือผู้ลงทุนในต่างประเทศต้องยอมรับความเสี่ยงที่ทรัพย์สินของตนจะถูกรัฐบาลต่างประเทศยึด หรือ อายัด ด้วยสาเหตุต่างๆ

(3) ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือเมื่อถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปให้กับการโอนความเสี่ยงภัยหรือการจัดการความเสี่ยงภัยด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว เห็นว่า วิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

- การโอนความเสี่ยงภัย (Risk Transfer) เป็นวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยที่นิยมมากในปัจจุบันนี้ โดยการโอนความเสี่ยงภัยที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งหมด หรือ บางส่วน ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ซึ่งมีวิธีการกระทำได้ 2 วิธี

(1) การโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย (Non-insurance Transfer) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญา จะได้รับการโอนความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติตามสัญญานั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทมาทำความสะอาดภายนอกอาคารที่สูงๆ การทำสัญญาซื้อ- ขายสินค้าล่วงหน้าโดยการกำหนดราคาที่แน่นอน ถึงแม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม ก็จะต้องซื้อ - ขายในราคาเดิม การให้มีการค้ำประกันการทำงานของพนักงาน

(2) การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย (Insurance Transfer) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัย ในรูปของการเอาประกันไว้กับบริษัทประกันภัย โดยการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้รับการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยนั้น เช่น การทำประกันรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่าหากรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหาย บริษัทประกันภัยจะรับชดใช้ให้หรือ ซ่อมแซมให้ หรือ การทำประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันเห็นว่า หากตัวเองประสบอันตรายถึงชีวิต จะทำให้ครอบครัวลำบาก จึงโอนความเสี่ยงภัยนี้ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงบริษัทจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับครอบครัวเป็นการบรรเทา ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ขาดรายได้จากสามี ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยอันหนึ่งเช่นกัน


6.1.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประกันภัย

ทฤษฎีหรือหลักการที่ผู้รับประกันสามารถนำมาพิจารณาในการที่จะรับประกันภัยที่สำคัญมี 3 เรื่อง คือ

(1) ทฤษฎีความน่าจะเป็น หรือหลักแห่งการคาดคะเน (Theory of Probability) เป็นทฤษฎีพื้นฐานที่บริษัทประกันภัยนำไปใช้เป็นค่าประมาณในการ คำนวณเบี้ยประกันภัยที่จะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัย โดยพิจารณาถึงโอกาสแห่งภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ว่าควรจะเป็นเท่าใด ถ้ากิจการประเภทนั้น ๆ โอกาสที่ภัยจะเกิดขึ้นมีมากก็แสดงว่าผู้รับประกันภัยต้องเสี่ยงมาก ฉะนั้นต้องเรียกเบี้ยประกันในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการที่ต้องลงทุนสำหรับรับความเสี่ยงภัยที่สูงตามไปด้วย

(2) ทฤษฎีว่าด้วยจำนวนมาก หรือกฎแห่งจำนวนมาก (Theory of Great Numbers) ทฤษฎีนี้มีหลักว่า ถ้าเพิ่มจำนวนของวัตถุที่ร่วมเสี่ยงภัย หรือ วัตถุที่เอา ประกันมากขึ้นแล้ว ค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจริง จะเท่ากับ ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ หรือ ความน่าจะเป็นของโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย จะแม่นยำหรือถูกต้องมากขึ้น จึงเป็นประโยชน์สำหรับการคำนวณเบี้ยประกันภัยแต่ละประเภท กล่าวคือ การเสี่ยงภัยจะลดลง ถ้าจำนวนวัตถุที่มีส่วนในเหตุการณ์เสี่ยงภัยมากขึ้น

(3) กฎของการเฉลี่ย (Law of average) ถ้ากลุ่มผู้เสี่ยงภัยมีน้อย ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะมีอัตราสูง และทำให้การดำเนินงานการ ประกันภัยไปได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้ากลุ่มผู้เสี่ยงภัยมีมาก ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะมีอัตราต่ำ และทำให้การประกันภัยดำเนินการไปด้วยดี

6.1.4 หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย

เพื่อได้เข้าใจถึงหลักในการที่ผู้รับประกันจะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่จะรับประภัยแล้ว จำเป็นต้องทำความเข้าใจต่อหลักสำคัญพื้นฐานของสัญญาประกันภัย โดยมีหลักสำคัญ ดังนี้

ก. หลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย (Principle of Insurable interest)

ข. หลักสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of the most good faith)

ค. หลักชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Indemnity)

ง. หลักการรับช่วงสิทธิ์ (Subrogation)

จ. หลักการร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Contribution)

ฉ. หลักสาเหตุใกล้ชิด (Proximate cause)

แต่ละหลักพื้นฐาน สามารถสรุปเป็นรายละเอียด ได้ดังนี้

ก. หลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย (Principle of Insurable interest) หมายถึงผู้มีสิทธิเอาประกันภัย จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือมีความรับผิดตามกฎหมายในวัตถุที่เอาประกันภัยหรือในเหตุประกันภัยเท่านั้น

(1) กรณีประกันวินาศภัย

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย: การที่ผู้เอาประกันภัยมีส่วนเกี่ยวพันโดยชอบธรรมในทรัพย์ ที่เอาประกัน คือมีกรรมสิทธิ์หรือมีประโยชน์หรือ มีความรับผิดชอบตามกฎหมายในวัตถุที่เอาประกันภัย

เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย: ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียทั้งขณะทำสัญญาประกันภัย และ ขณะที่เกิดความเสียหาย ยกเว้นการประกันภัยทางทะเล ที่ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องมีส่วนได้เสียขณะทำสัญญาประกันภัยได้ แต่ต้องมีส่วนได้เสียขณะที่เกิดภัยขึ้น

(2) กรณีประกันชีวิต

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย : ผู้เอาประกันมีความผูกพันทางกฎหมาย ความผูกพันทาง ครอบครัว หรือมีส่วนได้เสียอันเกิดจากการเป็นหุ้นส่วนในการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า การเสียชีวิตของหุ้นส่วนจะเกิดความเสียหายต่อกิจการที่ทำร่วมกัน

เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย: ผู้เอาประกันจะต้องมีส่วนได้เสีย ขณะทำสัญญาเท่านั้น โดยไม่ จำเป็นต้องมีส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ในขณะเกิดภัย

ข. หลักสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of the most good faith) หมายถึง การที่ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยมีความสุจริตใจต่อกัน ในขณะที่เข้าทำสัญญา กล่าวคือ จะต้องเปิดเผยข้อความจริง ไม่แถลงข้อความเท็จ และปฏิบัติตามคำรับรอง

สาระสำคัญที่ถือว่าปฏิบัติตามหลักสุจริตอย่างยิ่ง มี 3 ประการ คือ

(1) การเปิดเผยข้อความจริง (Representations)

เมื่อจะเข้าทำสัญญาประกันภัย ระหว่างคู่สัญญา โดยเฉพาะผู้เอาประกัน จะต้องแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการตัดสินของผู้รับประกัน ว่าจะเข้าทำสัญญาประกันหรือไม่ หรือหากเข้าทำสัญญาประกันดังกล่าวแล้ว ความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นมีอยู่มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการคิดเบี้ยประกัน หากผู้เอาประกันไม่เปิดเผยข้อเท็จจริง ก็แสดงให้เห็นว่าผู้เอาประกันมีเจตนาอันไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้น และอาจเป็นเหตุให้ผู้รับประกัน ไม่จำต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ ยกตัวอย่าง นาย ก. ขอประกันภัยสินค้าในโกดังสินค้า อันประกอบด้วย วัสดุก่อสร้างและเคมีภัณฑ์ติดไฟง่าย แต่นาย ก. แจ้งให้ผู้รับประกันทราบในสัญญาว่าเป็นวัสดุก่อสร้างเพียงอย่างเดียว โดยปกปิดข้อความจริงไว้โดยเจตนา ทั้งนี้ต้องการจ่ายเบี้ยประกันภัยตามมาตรฐานที่ถูกลง หรือเกรงว่าบริษัทไม่รับประกัน ปรากฏว่าเกิดไฟไหม้โกดังสินค้านั้น กรณีเช่นนี้ บริษัทไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพราะถือว่านาย ก. ไม่เปิดเผยข้อความจริง

(2) การไม่แถลงข้อความเท็จ (Non- Misrepresentations)

นอกจากทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์หรือเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาประกันภัยกันแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ก็ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และมีผลให้อีกฝ่ายไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญายกตัวอย่าง นาย ก. ขอเอาประกันชีวิต ในใบแถลงสุขภาพแจ้งว่าสุขภาพดี ไม่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นนอนในโรงพยาบาลในรอบ 5 ปี แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่านาย ก. รู้ดีว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็งและเข้าผ่าตัดภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา หลังทำสัญญาไม่นาน นาย ก. เสียชีวิตลง กรณีนี้ บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เพราะ นาย ก. แถลงข้อความเท็จอันมีสาระสำคัญต่อการพิจารณารับประกันภัย

(3) การปฏิบัติตามรับรอง (Warranty)

คำรับรอง (Warranty) คือ ข้อความในสัญญาที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง อันมีผลกระทบต่อความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัย เช่น ติดตั้งสัญญาณเตือนอัคคีภัย การจ้างยามรักษาการณ์ในโรงงานยามวิกาล

ค. หลักชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Indemnity) หมายถึง การที่มีความเสียหายเกิดขึ้นอันเป็นผลโดยตรงจากภัยที่ได้รับประกันภัยไว้ ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เช่น บ้านมูลค่า 2 ล้านบาท ไฟไหม้เสียหาย 2 แสน จะได้รับเงินชดใช้ 2 แสนบาท สำหรับจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877 บัญญัติไว้ว่า

ผู้รับประกันภัยจำเป็นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้คือ

1. เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง

2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปิดความวินาศภัย และ

3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัยไม่ให้วินาศการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จะต้องเท่ากับความเสียหายจริง ผู้รับประกันภัย อาจจะชดใช้ค่าเสียหายได้ หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวก และความพอใจของผู้เอาประกัน และผู้รับประกันภัย

1. จ่ายเป็นเงินสด

2. การซ่อมแซมให้กลับมีสภาพเหมือนเดิม

3. การหาสิ่งของมาทดแทน การประกันภัยทรัพย์สิน บางประเภทไม่เข้าข่ายกรณีนี้ เช่น วัตถุโบราณซึ่งยากที่จะกำหนดมูลค่าความเสียหาย ดังนั้น จึงกำหนดมูลค่าชดใช้แน่นอนไว้ล่วงหน้า แม้เกิดความเสียหายบางส่วนหรือทั้งหมด ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนที่ระบุในสัญญา เราเรียกกรมธรรม์นี้ว่า Valued Policy สำหรับการประกันชีวิตหรือการประกันสุขภาพ ไม่เข้าข่ายของหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นกัน

ง. หลักการรับช่วงสิทธิ์ (Subrogation) หมายถึง หลักที่กำหนดว่าผู้รับประกันภัยสามารถรับช่วงสิทธิ์ทั้งปวงของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากบุคคลภายนอกผู้ก่อ
ให้เกิดความเสียหายแก่วัตถุที่เอาประกันภัย เมื่อผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริงให้แก่ผู้เอาประกันภัย และความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ส่วนการประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประกันภัย ภัยจากธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย) ผู้รับประกันไม่สามารถรับช่วงสิทธิได้

การประกันภัยที่จะใช้หลักการรับช่วงสิทธิได้ มีลักษณะทั้ง 3 ประการ คือ

1. เป็นวินาศภัย

2. เป็นวินาศภัยที่เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก

3. ผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแล้ว

วัตถุประสงค์ของการรับช่วงสิทธิ เพื่อ

1. เพื่อป้องกันการแสวงหากำไรของผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจรับผลประโยชน์ทั้ง 2 ทาง คือ จากผู้ที่รับประกันภัยและจากผู้ก่อความเสียหาย

2. เพื่อให้บุคคลผู้ก่อความเสียหายรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ได้ก่อนั้น

จ. หลักการร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Contribution) เมื่อเกิดความเสียหาย แม้ว่าผู้เอาประกันภัยจะประกันภัยเกินมูลค่าส่วนได้เสีย หรือ เอาประกันภัยจากผู้รับประกันภัยหลายราย ซึ่งทำให้จำนวนเงินเกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง โดยผู้รับประกันภัยจะเฉลี่ยชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวตามอัตราส่วน

ลักษณะของการประกันภัยที่ใช้หลักการนี้ ต้องมีลักษณะดังนี้

1. มีกรมธรรม์ตั้งแต่ 2 ฉบับขึ้นไป

2. คุ้มครองภัยเดียวกัน

3. คุ้มครองส่วนได้เสียอันเดียวกันของผู้เอาประกันภัย

4. วัตถุที่เอาประกันภัยของแต่ละกรมธรรม์ต้องเป็นวัตถุเดียวกัน

5. ทุกกรมธรรม์มีผลบังคับใช้ในเวลาเกิดความเสียหาย

ฉ. หลักสาเหตุใกล้ชิด (Proximate cause) หมายถึง หลักที่กำหนดให้ผู้รับประกันภัย จะต้องชดใช้ค่าสินไหมอันเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใกล้ชิดกับภัยที่ทำประกันภัยไว้ สาเหตุความใกล้ชิด คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นต่อเนื่องไม่ขาดตอน และเป็นผลโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยแล้ว

ตัวอย่าง เกิดไฟไหม้บ้าน นาย ก ทำให้พนักงานดับเพลิงต้องฉีดน้ำสกัดไฟไปยังบ้านนาย ส ซึ่งเป็นบ้านข้างเคียงทำให้ทรัพย์สินบ้านนาย ส เสียหายพิจารณาว่าเป็นสาเหตุใกล้ชิด เพราะเป็นสาเหตุไม่ขาดตอน ซึ่งมาจากภัย คือ ไฟ ดังนั้นหากนาย ส มีประกันอัคคีภัยคุ้มครองบ้านของตน บริษัทประกันภัยนั้นต้องจ่ายค่าสินไหมให้นาย ส ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

6.1.5 วิวัฒนาการของประกันภัย

ก. การประกันภัยในต่างประเทศ

เมื่อราว 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราช พ่อค้าชาวจีนได้คิดใช้หลักของการประกันภัยขึ้น โดยพ่อค้าเหล่านั้นได้ประกันต่อความเสียหายของสินค้าราคาแพงที่ขนส่งทางเรือตามลำน้ำแยงซีเกียง ภัยที่ประกันคือ ภัยจากหินใต้น้ำแกระแสน้ำเชี่ยวในแม่น้ำ สินค้าดังกล่าวบางครั้งก็เป็นทรัพย์ทั้งหมดที่พ่อค้ามีอยู่ เมื่อมีความกลัวต่อความหายนะ พ่อค้าจึงได้ประกันภัยไว้ โดยการกระจายโอกาสที่จะเกิดความหายนะออกไป เขาเหล่านั้นให้เหตุผลดังกล่าวว่า ถ้าเรือ 100 ลำ แต่ละลำบรรทุกสินค้า 100 ห่อ ได้เริ่มเดินทางที่ต้นกระแสน้ำเชี่ยว พ่อค้าจะกระจายความเสี่ยงภัยโดยในเรือแต่ละลำ พ่อค้าจะบรรทุกสินค้าของตนในเรือเพียงคนละ 1 ห่อต่อเรือ 1 ลำ จนครบ 100 ลำ การสูญเสียเรือ 1 ลำ จะทำให้พ่อค้าแต่ละคนสูญเสียสินค้าเพียงคนละ 1 ห่อเท่านั้น

จากการบันทึกไว้ในเรื่องของกำเนิดการประกันภัยนั้น ยังมีอีกทางหนึ่งว่า ชาวบาบิโลนซึ่งอาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำยูเฟรติสเมื่อประมาณห้าพันปีล่วงมาแล้ว ได้ผลิตสินค้าออกขาย และได้ส่งลูกจ้างหรือทาสของตนออกไปเร่ขายสินค้าตามเมืองต่างๆ ทาสหรือลูกจ้างของตนนี้ไม่มีส่วนได้เสียในกำไรที่เกิดขึ้นกับการขายสินค้าเหล่านั้นเลย และไม่มีอำนาจในการตกลงกับผู้ซื้อนอกเหนือไปจากที่ได้รับคำสั่งจากนายของตนเท่านั้น พอการค้าเจริญขึ้น การทำงานของทาสหรือลูกจ้างก็เกิดความไม่สะดวก เนื่องจากขาดอำนาจต่าง ๆ ดังกล่าว การใช้ทาสหรือลูกจ้างก็เปลี่ยนไปเป็นใช้พ่อค้าเร่ (travelling sales-man) ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า darmatha แปลว่าคน ตีกลอง เป็นผู้รับสินค้าจากพ่อค้าไปจำหน่าย ยังเมืองต่าง ๆ พวกพ่อค้าเร่นี้ต้องมอบทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรที่อยู่ทางบ้านให้พ่อค้าเป็นประกัน โดยมีสัญญากันว่ากำไรที่ได้รับนั้นพ่อค้าเร่ต้องแบ่งให้พ่อค้าเจ้าของสินค้าครึ่งหนึ่ง หากพ่อค้าเร่หนีหายไป หรือถูกโจรปล้นเอาสินค้าไปหมดบรรดาทรัพย์สินจะถูกพ่อค้าริบ และภรรยากับบุตรก็จะตกเป็นทาสไปด้วย เงื่อนไขดังกล่าวนี้เมื่อปฏิบัติไปเพียงเล็กน้อย บรรดาพ่อค้าเร่ก็ไม่พอใจจึงเกิดการแข็งข้อ ไม่ยอมรับเงื่อนไขอันเสียเปรียบนี้ และในที่สุดก็ตกลงเงื่อนไขใหม่ว่า ถ้าการสูญเสียสินค้าโดยมิใช่ความผิดของพ่อค้าเร่ หรือพ่อค้าเร่มิได้เพิกเฉยต่อการป้องกันรักษาสินค้าอย่างเต็มที่แล้วให้ถือว่าพ่อค้าเร่ไม่มีความผิดพ่อค้าเจ้าของสินค้าจะริบทรัพย์สินบุตรภรรยาไม่ได้ ข้อตกลงนี้จึงได้ใช้ต่อมาอย่างแพร่หลายในการค้าสมัยนั้น นับได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเริ่มต้นของการประกันภัยในสมัยโบราณ

ต่อมาชาวกรีกได้รับเอาความคิดของชาวบาบิโลนมาใช้กับการเดินเรือของตนในราวสามพันปีมาแล้ว คือยอมให้เอาเรือหรือสินค้าของตนเป็นประกันเงินกู้ที่ต้องกู้ยืมจากนายทุนมาในการ จัดซื้อสินค้า โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเรือสินค้าลำนั้นไม่กลับท่า เจ้าหนี้จะมาเรียกร้องหนี้สินคืนจาก เจ้าของเรือไม่ได้ นับได้ว่าการประกันภัยทางทะเลได้เริ่มขึ้นในระยะนี้ ซึ่งได้ถึงกับมีการจัดตั้งเป็นสถาบันการประกันภัยทางทะเลในกรุงเอเธนส์สมัยนั้น

ทางด้านประกันชีวิตนี้ ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเริ่มมีกันตั้งแต่เมื่อใด ทราบกันเพียงว่าชาวกรีกและชาวโรมันในสมัยโบราณใช้วิธีบริจาคเงินช่วยในการทำศพด้วยการเก็บเงินจากคนที่ไปโบสถ์ในวันอาทิตย์คนละเล็กละน้อยเป็นรายเดือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือในการทำศพผู้ตาย และต่อมาได้จัดตั้งสมาคมรับประกันในหมู่พวกทหารขึ้น สมาชิกที่ตายจะได้เงินสำหรับทำศพ และจะได้รับเงินบำนาญเมือถึงวัยชรา เป็นต้น พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการประกันชีวิตขึ้นแล้วในสมัยโบราณ

เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการประกันภัยในสมัยโบราณดังกล่าว คงเป็นวิธีการง่าย ๆ ปราศจากแบบแผนหรือระเบียบที่แน่นอน จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งธุรกิจประกันภัยในรูปของบริษัทการค้าขึ้นเมื่อราว พ . ศ . 1853 ที่เมือง Flanders ในอิตาลี และในช่วงศตวรรษนั้น การค้าขายทางทะเลมีความสำคัญที่สุด ได้มีสัญญาประกันภัยฉบับแรกได้ถูกบันทึกไว้ปรากฏอยู่ สัญญาประกันภัยทางทะเลเกี่ยวกับสินค้าของเรือซานตาคาลา ที่เมืองเจนัวในปี พ . ศ . 1890 และในปี 2117 พระนางเอลิซาเบธแห่งประเทศอังกฤษได้ตรากฎหมายจัดตั้งหอประกันภัยขึ้นสำหรับขายกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ทำให้ธุรกิจประกันภัยของอังกฤษได้เจริญก้าวหน้าวิวัฒนาการเรื่อยมา เริ่มต้นแต่ดำเนินงานในรูปสำนักงานจนเป็นสมาคม สัญญาประกันภัยของอังกฤษฉบับแรกที่บันทึกไว้คือ “The Broke Sea Insurance Policy” ซึ่งยังเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2190

ข. การประกันภัยในประเทศไทย

กิจการประกันภัยเริ่มในยุโรปมานานแล้ว เมื่อมีชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจมีการประกันภัยกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะการประกันทางทะเล และขนส่ง แต่เป็นการที่ชาวต่างชาติทำประกันกันเอง ไม่เกี่ยวมาถึงไทย

การประกันภัยเริ่มขึ้นในประเทศไทย ปรากฏขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ . ศ . 2368 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังทรงผนวชอยู่ ได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์จากประเทศอังกฤษ และโดยที่เกรงว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างทาง จึงได้สั่งให้เอาเครื่องพิมพ์ดังกล่าวประกันภัยระหว่างการขนส่งในนามของพระองค์เอง แสดงว่าการประกันภัยนั้นได้เริ่มแผ่เข้ามาถึงเมืองไทยแล้ว และอาจกล่าวได้ว่าไทยได้รู้จักวิธีการประกันภัย หรือการประกันภัยทางขนส่งสินค้าของได้เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3

การประกันภัยที่ควรจะนับว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยตรงได้เริ่มจากสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา คือในรัชกาลนี้มีฝรั่งเศสเข้ามาตั้งห้างค้าขายมาก ห้างฝรั่งเศสเหล่านี้ปรากฏว่า บางห้างได้เป็นตัวแทนของบริษัทประกันภัยต่างประเทศด้วย เท่าที่ปรากฏมีดังนี้

ห้างบอเนียว ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2399 เป็นตัวแทนของ Netherlands India Sea and Fire Insurance Company รับประกันทางทะเล และประกันอัคคีภัย กับเป็นตัวแทนของ North China Insurance Company

ห้างสก๊อต ตั้งขึ้นเมื่อง พ . ศ . 2399 เหมือนกัน เป็นตัวแทนของ Ocean Marine Insurance Company

ห้างบิกเกนแบ็ก ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2401 เป็นตัวแทนของ Colonial Sea and Fire Insurance Company

สมัยรัชกาลที่ 5 คณะทูตจากประเทศอังกฤษได้ขอพระบรมราชานุญาตให้บริษัทอิ๊สเอเซียติก จำกัด ของชาวอังกฤษดำเนินธุรกิจรับประกันชีวิตประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศในประเทศไทย ในฐานะตัวแทนของบริษัทเอควิตาเบิลประกันภัยแห่งกรุงลอนดอน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอนุญาต โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนแรก

หลังจากนั้นมาธุรกิจประกันชีวิตก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะกรมธรรม์ต้องส่งมาจากประเทศอังกฤษและคนไทยก็ยังไม่มีความสนใจ ธุรกิจประกันชีวิตต้องหยุดชงักไปเองในปลายรัชกาลที่ 5 นั่นเอง

แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นกิจการประกันภัยในด้านที่ไม่ใช่ประกันชีวิต ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป ห้างฝรั่งที่ตั้งในเมืองไทยส่วนมากเป็นตัวแทนของบริษัทรับประกันต่างประเทศหลายแห่ง และนอกจากบริษัทอิ๊สเอเซียติก จำกัดแล้ว ก็ยังมีหลายห้างที่เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตของต่างประเทศ เช่น

ห้างสยามฟอเรสต์ เป็นตัวแทนของ Commercial Union Assurance Company

ห้างเบนเมเยอร์ เป็นตัวแทนของ Nordstern Life Insurance Company of Berlin

ห้างหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ เป็นตัวแทนของ China Mutual Life Insurance Company

สมัยนั้นบริษัทหรือห้างที่จะตั้งกิจการประกันภัยโดยตรงขึ้นในเมืองไทยยังไม่มี เว้นแต่บริษัทเรือเมล์จีนสยามได้รับอำนาจพิเศษให้ดำเนินกิจการรับประกันอัคคีภัยและรับประกันภัยทางทะเลด้วย อย่างไรก็ตามนับได้ว่า การประกันภัยนับว่าได้มีมาแล้วนับแต่การประกันอัคคีภัย การประกันทางทะเล การประกันชีวิตและการประกันรถยนต์ ก็ได้มีมาในเวลาไล่เลี่ยกัน เช่น ห้างสยามอิมปอร์ต เป็นตัวแทนของ Motor Union Insurance Company รับประกันรถยนต์แสดงว่าการประกันภัยต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นของใหม่สำหรับเมืองไทยเลย เคยมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 และรัชกาลที่ 5 แล้ว

กฎหมายฉบับแรกเท่าที่ค้นพบ ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันภัย คือพระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท ร.ศ. 130 (.ศ. 2454) ซึ่งมาตรา 115 บัญญัติว่า บริษัทเดินรถไฟ รถราง บริษัทรับประกันต่าง ๆ บริษัททำการคลังเงินเหล่านี้ ท่านห้ามมิให้ตั้งขึ้นนอกจากได้รับพระบรมราชานุญาต

ในปี พ.ศ. 2467 ได้มีการบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น มีบรรพ 3 ลักษณะ 20 เป็นเรื่องการประกันภัยรวมอยู่ด้วย เป็นการรับรู้ข้อตกลงในเรื่องประกันภัยว่าเป็นสัญญาที่ผูกพันชอบด้วยกฎหมาย และได้มีบทบัญญัติลักษณะห้างหุ้นส่วนบริษัท มาตรา 1014 ไว้ว่า ห้าม มิให้ตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท เพื่อทำการประกันภัยขึ้น เว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเริ่มควบคุมการก่อตั้งบริษัทประกันภัยไม่ให้ตั้งโดยเสรี แต่ยังมิได้ ควบคุมการดำเนินกิจการโดยตรง

ชาวต่างประเทศในขณะนั้นได้ติดต่อขออนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม แต่ทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมยังไม่พร้อมที่จะรับการ จดทะเบียนประกอบธุรกิจประกันภัยในทันที เพราะเห็นว่าการประกันภัยเป็นธุรกิจที่ต้องดำเนินโดยมีส่วนเกี่ยวพันถึงสาธารณชนในด้านความผาสุกและปลอดภัย จึงได้มีการกำหนดธุรกิจประกันภัยไว้ในกฎหมายที่ว่าด้วยความผาสุกและปลอดภัยแห่งสาธารณชน ทั้งจำเป็นต้องกำหนดระเบียบการปฏิบัติในการควบคุมธุรกิจให้มีมาตรฐานและปลอดภัยด้วย

สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ปี พ.ศ. 2467 ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกยกเลิก และใช้บทบัญญัติบรรพ 3 ที่ตรวจชำระใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2472 ซึ่ง บรรพ 3 ที่ตรวจชำระใหม่ก็มีบทบัญญัติลักษณะ 20 ว่าด้วยประกันภัยตั้งแต่มาตรา 861 ถึงมาตรา 897 และมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

การริเริ่มก่อตั้งบริษัท ประกันภัย ของคนไทย

ในปี พ.ศ. 2472 นั้น มีบริษัทประกันภัยที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยโดยคนไทยเป็นบริษัทแรกคือ บริษัทเตียอันเป๋าเฮี่ยม จำกัด ซึ่งในปีนั้นเองมีอีกหลายบริษัท คือบริษัทเซ่งเชียงหลีประกันภัยธนากิจและพาณิชยการ จำกัด บริษัทเชียงอานรับประกันอัคคีภัยและอุทกภัย จำกัด เป็นบริษัทประกันวินาศภัยทั้งสิ้น

ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2472 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พ.ศ. 2484 นั้นมีบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพียง 10 บริษัทเท่านั้น ส่วนบริษัทต่างประเทศได้จดทะเบียนถึง 62 บริษัท สำหรับบริษัทของคนไทยนั้นเป็นบริษัทประกันวินาศภัย ไม่มีบริษัทที่ประกอบการประกันชีวิต ส่วนบริษัทต่างประเทศเป็นทั้งบริษัทประกันวินาศภัย และบริษัทประกันชีวิต

บริษัทประกันชีวิตของคนไทยนั้นเพิ่มได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นแล้วเพราะในช่วงสงครามโลกนั้นเอง บริษัทประกันภัยของต่างประเทศตกอยู่ในฐานะชนชาติศัตรูต้องหยุดประกอบกิจการไปเกือบทั้งหมด บริษัทประกันชีวิตของคนไทยบริษัทแรกคือ บริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในปี พ.ศ. 2485 ปีเดียวกันนี้มีอีกบริษัทซึ่งมีคนไทยเป็นผู้ก่อตั้งคือ บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด ก็ได้จดทะเบียนเช่นกัน

6.1.6 ความหมายและนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องของการประกันภัย

สัญญาเป็นการตกลงกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย แต่ก่อนที่จะมีการตกลงเพื่อทำสัญญากัน จะต้องมีการแสดงเจตนาเสียก่อน กล่าวคือต้องมีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเสมอ และอีกฝ่ายหนึ่งเจตนาสนองถูกต้องตรงตามคำเสนอนั้น จึงจะเกิดเป็นสัญญาขึ้นในกรณีสัญญาประกันภัยเช่นเดียวกัน ตัวแทนคือผู้ที่บริษัทมอบหมายให้มีหน้าที่ชักชวนผู้มุ่งหวังมาทำสัญญาประกันภัยต่อบริษัท เพื่อให้บริษัทสนองตอบรับในการทำสัญญาประกันภัยนั่นเอง ถ้าบริษัทตกลงตามเงื่อนไขที่ฝ่ายที่ผู้สมัครแสดงเจตนา และออกกรมธรรม์ให้สัญญาประกันภัยก็เกิดขึ้น

Mark S. Dorfman: การประกันภัย เป็นการจัดการทางการเงินที่แจกจ่ายค่าของความสูญเสียที่ไม่คาดหวัง

Frederick G.Crane: การประกันภัย คือการจัดการของความเสี่ยงโดยการรวบรวมความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นทั้งหลาย โดยค่าของความสูญเสียนั้นจะถูกเฉลี่ยกันไปให้ระหว่างผู้เข้าร่วมความเสี่ยงภัยทั้งหมด

คณะอนุกรรมการค้นคว้าและวิชาการ สมาคมการประกันวินาศภัย : การประกันภัย คือ การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นหลักประกันแก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง โดยสัญญาว่าเขาจะต้องไม่รับความเดือดร้อนจากภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของเขา โดยฝ่ายผู้ให้หลักประกันจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวนและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ หรืออาจทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นกลับสู่สภาพดีหรือใกล้เคียงดังเดิม โดยผู้ให้หลักประกันจะได้รับเงินตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งตามจำนวนที่ตกลงกันไว้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 บัญญัติไว้ว่า

อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะชดเชยค่าสินไหมทดแทน หรือ เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัยให้

คำศัพท์ในธุรกิจประกันภัย

- ผู้รับประกันภัย (Insurer) คือ คู่สัญญาซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์

- ผู้เอาประกันภัย (Insured) คือ คู่สัญญาซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งให้ผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดมีภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยจึงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย

- ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) คือ บุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ที่มีสิทธิ์เข้ามารับประโยชน์ในค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยนั้น ตามข้อตกลงของผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประ-กันภัย ดังนั้น เมื่อมีผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาอีกต่อไป ผู้รับประโยชน์อาจเป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้

- เบี้ยประกันภัย (Premium) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับประ-กันภัย ตามสัญญาประกันภัย ซึ่งการจ่ายอาจจะจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน รายเดือน แล้วแต่จะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

เบี้ยประกันภัย คือจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายให้กับบริษัทเพื่อซื้อความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยเปรียบเทียบได้กับราคาสินค้านั่นเอง ในการขายสินค้าชนิดอื่นราคาขายย่อมเท่ากับราคาต้นทุนบวกกำไร ในการประกันชีวิตก็เช่นเดียวกัน จำนวนเบี้ยประกันภัยที่บริษัทเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยจะต้องมีจำนวนเพียงพอกับค่าต้นทุนในการประกอบการรับประกันชีวิตของบริษัท บวกกำไรของบริษัท ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท เบี้ยประกันภัยที่บริษัทนำไปเสนอขายแก่ประชาชนนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเพื่อพิจารณาความถูกต้องตามหลักการคำนวณด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย

- กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) หมายถึง เอกสารที่แสดงข้อตกลง เงื่อนไขต่างๆ ของสัญญาประกันภัย ในกรมธรรม์จะประกอบไปด้วย รายละเอียดต่างๆมากมาย อันเป็นเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย

- ทุนประกันหรือจำนวนเงินเอาประกัน (Sum insured) หมายถึง จำนวนเงินที่ตกลงกันว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อเกิดภัยหรือความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันตามเงื่อนไขในสัญญาหรือกรมธรรม์

คำว่า "กรมธรรม์ประกันภัย หมายความรวมถึง ใบคำขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์เงื่อนไข ข้อยกเว้น ข้อกำหนด เอกสารแนบท้าย ข้อระบุพิเศษ ข้อรับรอง และใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญาประกันภัยเดียวกัน

คำว่า "บริษัท หมายความถึง ผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

คำว่า "ผู้เอาประกันภัย หมายความถึง บุคคล หรือนิติบุคคล ตามที่ปรากฏชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยในหน้าตารางกรมธรรม์ ซึ่งตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท

คำว่า "ความเสียหาย หมายความถึง การสูญเสียหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนอันเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

คำว่า "ความเสียหายสืบเนื่อง หมายความถึง ความเสียหายทางการเงินซึ่งเป็นผลสืบเนื่องและนอกเหนือจากความเสียหายทางวัตถุ อันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยไว้

คำว่า "อัคคีภัย หมายความถึง ไฟไหม้ หรือฟ้าผ่า หรือการระเบิดของแก๊สเฉพาะที่ได้กำหนดไว้ว่าได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance