โครงการ"ยุวชนประกันภัย"

โครงการ"ยุวชนประกันภัย"

บทบาท ภารกิจ หน้าที่ ของสำนักงาน คปภ.
1.สำนักงาน คปภ. คือใคร
ครม. ได้มีมติให้ ยุบ กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
และเสนอร่าง พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
จัดตั้งสำนักงาน คปภ.
- เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ
- ที่จัดตั้งโดย
พ.ร.บ.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550
ชื่อ " สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
" สังกัดกระทรวงการคลัง
- มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2550
2.โครงสร้างของ คปภ.
สำนักงาน คปภ.
มีหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
กำหนด มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์กร
สำนักงาน คปภ.
ถือเป็นหน่วยงานของรัฐองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้เบิกจ่ายงบประมาณจากรัฐแต่อย่างใด
โดยรายได้หลักขององค์กรมาจากเงินสมทบจากบริษัทประกันภัย
ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และรายได้จากการ
ดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 สำนัก 13 ฝ่าย
วิสัยทัศน์สำนักงาน คปภ.

เป็นองค์กรนำในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยสู่ความเป็นเลิศ
เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน
3.หน้าที่ของสำนักงาน คปภ. กระทรวงการคลัง
1. พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีศักยภาพและขีดความสามารถพร้อมแข่งขัน
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสร้างเสริม
ความแข่งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจสังคมของ
ประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
3. สร้างความเข็มแข็ง
และพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนผู้มีสิทธิประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
4. สถานที่/เบอร์โทรศัพท์ ที่ควรทราบ
4.1 สายด่วนประกันภัย 1186
- ตู้ ปณ.22 ปณจ.นนทบุรี
www.oic.or.th
4.2 สำนักงาน คปภ.ภาค 4 นครราชสีมา
4.3 สำนักงาน คปภ. จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 0-4425-7203-4
โทรสาร 0-4425-7204
4.4 คปภ.ยโสธร 08-11748965
หลักการประกันภัยเบื้องต้น
ความหมายการประกันภัย
การประกันภัย คือการกระทำของบุคคลหมู่หนึ่ง
ทำการโอนความเสี่ยงภัยของสมาชิกแต่ละคนเพื่อที่จะ
กระจายไปยังสมาชิกผู้ที่ได้รับความเสียหายทุกคนหรือเฉลี่ยความเสี่ยงภัยร่วมกัน
การทำประกันภัย
คือ วิธีการกระจายความเสี่ยงภัยอย่างหนึ่ง
ที่สมาชิกทุกคนที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ
จะต้องจ่ายเงินที่เรียกว่าเบี้ยประกันภัย ให้กับกองทุน
และเมื่อมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งเคราะห์ร้าย
หรือได้รับความเสียหายตามที่กำหนด
คนนั้นจะได้รับการชดใช้จากเงินกองกลางนั้น ตามจำนวนที่ ตกลง
โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้จัดการกองทุน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
1. พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535
2. พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
3. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ประเภทของการประกันภัย แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การประกันชีวิต
2. การประกันวินาศภัย
หมายเหตุ เมื่อสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว
ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้เอาประกันและผู้เอาประกันภัยสามารถเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้
ประโยชน์ของการประกันภัย
- ทำให้เกิดการออมทรัพย์
- ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
- ก่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ
- ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ
- ช่วยให้การคำนวนต้นทุนใกล้เคียงต่อความเป็นจริงในการลงทุน
ประเภทของการประกันภัยรถ
การประกันภัยรถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
การประกันภัยรถภาคบังคับ หมายถึง
การประกันภัยรถ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้
ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย
โดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วย
การประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทการประกันภัยรถ


2. การประกันภัยรถภาคสมัครใจ
การประกันภัยรถภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยรถที่กฎหมายไม่ได้บังคับ
ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เอาประกันภัยที่เห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตน
และมีความคิดที่จะกระจายความเสี่ยงภัยออกไปยังบุคคลอื่นคือ
การประกันภัยไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัย

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.

รถที่ต้องทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
หรือพ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์
กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหารที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้
ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น
เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก
หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน
แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์
กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตามพ.ร.บ.
รถที่ได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.
1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท
และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน
และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร
4.
รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระของ
องค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ผู้ที่ต้องทำประกันภัยและโทษของการไม่ทำประกันภัย
ผู้ที่ต้องทำประกันภัย
ตามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535หรือ พ.ร.บ.
ได้แก่
1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ)
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ)
3. เจ้าของรถ
ซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
อนึ่ง การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ
ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535
กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ผู้ที่มีหน้าที่รับประกันภัยและโทษของการไม่รับประกันภัย
ผู้รับประกันภัยรถ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือพ.ร.บ. ได้แก่
1. บริษัทประกันวินาศภัย
ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงสาขา
ของบริษัทนั้น ๆ ทั่วประเทศ
2. บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด
(รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์)โดยมีสาขาให้บริการทั่วประเทศอนึ่ง
บริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามกฎหมายนี้
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่50,000 - 250,000 บาท


ผู้ที่มีหน้าที่ผู้เอาประกันภัย
- ชำระเบี้ยประกันภัย
- เปิดเผยข้อความจริง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ได้กำหนดให้ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น
เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ และให้เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต
โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน
นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า
ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ
และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท
3. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล
จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน
50,000 บาท

ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น

เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ภายหลังจากการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้วโดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย
เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว
เป็นดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน
ไม่เกิน 50,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ
จำนวน 100,000 บาท ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่
ถ้ามีค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้ว
เท่ากับ100,000 บาท
3.ค่าอนามัย ( ค่าชดเชยอื่นๆตามสิทธิ)

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย
หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้
จากบริษัทประกันภัย หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย
หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้เช่น รถชนแล้วหนี
หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ
โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่สามารถจ่ายได้ คือ
1.
ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท
2. ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต จำนวน 35,000 บาท
อนึ่ง การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ
ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นภายใน 180 วัน
นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นของผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจากรถซึ่งถึงแก่ความตายตาม
พ.ร.บ. นี้ ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน
180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
โดยสามารถขอรับได้จากผู้เกี่ยวข้องซึ่งแยก เป็น 2 กรณี คือ
1 การขอรับจากบริษัทประกันภัย
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่มีการประกันภัยไว้กับบริษัท
ให้ผู้ประสบภัยยื่นคำร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
1) ความเสียหายต่อร่างกาย
ก. ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ข. สำเนาบัตรประจำตัว
หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือ
หลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
แล้วแต่กรณี
2) ความเสียหายต่อชีวิต
ก. สำเนามรณบัตร
ข. สำเนาบัตรประจำตัว
ค. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน
2 การขอรับจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ผู้ประสบภัยจากรถสามารถร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยตามสถานที่ต่าง
ๆ ที่กล่าวข้างต้นได้ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
1. เจ้าของรถที่เกิดความเสียหายนั้น
มิได้จัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถและเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
2. ขณะเกิดเหตุ รถนั้นมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถ
เพราะเหตุที่รถนั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์
รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
3. ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่เกิดความเสียหาย
และรถนั้นไม่มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
4. รถนั้นมีผู้ขับขี่หนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
5. บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถที่เกิดความเสียหาย
ไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
6. ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยนั้นเกิดจากรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีการประกันภัยตามที่ได้กำหนดยกเว้นไว้ใน
พ.ร.บ. เช่น กรณีความเสียหายเกิดจากรถของหน่วยงานราชการต่าง ๆ
เป็นต้น
ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20
หรือจ่ายให้ไม่ครบให้ผู้ประสบภัย
หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี
แจ้งต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พร้อมข้อเท็จจริงดังนี้
1. ชื่อบริษัทประกันภัย และหมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย
2. จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่ประสงค์ได้รับ
3. วันที่ไปยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย

กรณีที่รถต้องทำประกันภัยตามกฎหมายนี้ ไม่ทำประกันภัย
แล้วไปเกิดเหตุให้เจ้าของรถเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
หากเจ้าของไม่ยอมจ่าย
และผู้ประสบภัยไปร้องขอจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
จ่ายแทนไปแล้วจะมีคำสั่งเรียกคืนจากเจ้าของรถตามจำนวนที่จ่ายไปพร้อมกับเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบ
ซึ่งเจ้าของรถจะต้องส่งคืนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ภายใน 7 วัน
หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

ผู้มีสิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
- ผู้ประสบภัย
- ทายาทของผู้ประสบภัย
- โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ได้รับการรักษา ฯลฯ

personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance