อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882) ในกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 จะนำอายุความละเมิดตามมาตรา 448 มาบังคับใ

อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882)

ในกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 จะนำอายุความละเมิดตามมาตรา 448 มาบังคับใช้ไม่ได้ ดูฎีกา 4479/2533, 2904/2535

ฎีกาที่ 4479/2533 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยจะยกอายุความเรื่องละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย และมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัยตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ลักษณะ 20 หมวด 2 จึงต้องนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 882 วรรคแรก ซึ่งมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยมาปรับแก่คดี

ฎีกาที่ 2904/2535 การฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก หาใช่นำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่

( มีฎีกาที่ 6-8/2532, 3524/2532 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน )

ดังนั้นหากผู้ได้รับความเสียหายฟ้องทั้งผู้กระทำละเมิดและฟ้องผู้รับประกันภัยมาด้วยกัน อายุความที่จะบังคับในแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน โดยอายุความฟ้องผู้ทำละเมิด ( รวมทั้งนายจ้าง ตัวการ ฯลฯ ) มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนอายุความฟ้องผู้รับประกันภัยมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 882 ดูฎีกาที่ 8533/2542 (ประชุมใหญ่)

ฎีกาที่ 8533/2542 (ประชุมใหญ่) จำเลยที่1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดในฐานะเจ้าของผู้ครอบครอง นายจ้าง ตัวการ วาน ใช้ ผู้ขับขี่และผู้ควบคุม ซึ่งมีอายุความ 1ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง แสดงว่าอายุความฟ้องจำเลยทั้งสองสามารถแยกออกจากกันได้ อีกทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 295 บัญญัติให้อายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลละเมิดจึงขาดอายุความ 1 ปี ย่อมเป็นคุณเฉพาะจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย

ข้อสังเกต อายุความตามมาตรา 882 เป็นอายุความฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพราะความรับผิดของผู้รับประกันภัยเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย แต่ในกรณีที่ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้ทำละเมิดตามมาตรา 880 นั้น ไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 หากแต่ถือหลักตามกฎหมายการรับช่วงสิทธิที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิเช่นเดียวกับผู้เอาประกันที่ตนรับช่วงสิทธิมา ดังนั้นผู้รับประกันภัยต้องฟ้องผู้ทำละเมิดภายในอายุความตามมาตรา 448 เช่นเดียวกับสิทธิของผู้เอาประกันภัย ดูฎีกาที่ 2339/2533, 5813/2539, 2138/2534, 2425/2538

ฎีกาที่ 2339/2533 โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย สิทธิของโจทก์จึงต้องถูกจำกัดไม่เกินสิทธิทั้งหลายบรรดาผู้ที่เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ เมื่อผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการกระทำละเมิดตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2523 แล้วโจทก์มาฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2524 เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

ฎีกาที่ 626/2536 ผู้ต้องเสียหายจากการกระทำละเมิดสามารถฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 887 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้ต้องเสียหายเข้าชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ในนามของโจทก์เองตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 และ 880 และกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน ต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 คือ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จะนำอายุความละเมิดตามมาตรา 448 มาบังคับไม่ได้

กรณีที่ผู้เอาประกันภัยไปตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ทำละเมิด แต่เมื่อยังไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประกันภัยยังไม่ระงับ เมื่อผู้รับประกันภัยใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไปฟ้องผู้ทำละเมิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ดูฎีกาที่ 440/2540

ฎีกาที่ 440/2540 จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของ ส. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อ ส. แม้ ส. จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย ยอมให้จำเลยซ่อมรถยนต์ของ ส. ภายหลังวันที่กรมธรรม์ประกันภัยครบกำหนดแล้วก็ตาม สิทธิของโจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิของ ส. ผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่แก่จำเลยในการเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยยังคงมีอยู่ หาได้สิ้นสิทธิไป เพราะบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมซิอมรถยนต์ของ ส. เป็นข้อตกลงที่ผูกพันเฉพาะจำเลยกับ ส. เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาหาได้มีผลทำให้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับ ส. สิ้นผลไปด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแมนให้แก่ ส. ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ ส. ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 227 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของ ส. ผู้เอาประกันภัยอันมีต่อจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ส. ทำไว้กับจำเลย มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยตามสัญญาประกันภัย สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะ จึงต้องอยู่ภายในบังคับของมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ

การฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยภายใน 2 ปี ตามมาตรา 882 นี้รวมถึงคู่ความในคดีขอให้ศาลออกหมายเรียกบริษัทประกันภัยให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ด้วย โดยต้องขอให้ออกหมายเรียกบริษัทประกันภัยให้เข้ามาในคดีภายใน 2 ปี นับแต่วันที่เกิดวินาศภัย (ฎีกาที่ 5783/2540)

มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ อายุความตามมาตรา 882 เป็นอายุความในการเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีวินาศภัย ถ้าเป็นการฟ้องเรียกตามสัญญาประกันชีวิตจะนำเอาอายุความตามมาตรา 882 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม) ดูฎีกาที่ 2306/2532

ฎีกาที่ 2306/2532 การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาประกันชีวิตมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164

ประกันชีวิต

สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง เป็นสัญญาประเภทผู้รับประกันภัยตกลงไว้ว่าจะใช้เงินจำนวนแน่นอนซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า หากมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญาเมื่อสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาประกันภัย บทบัญญัติในหมวด 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ตั้งแต่มาตรา 861 ถึงมาตรา 867 จึงต้องนำมาใช้กับสัญญาประกันชีวิตด้วย

1. ลักษณะของสัญญาประกันชีวิต

สัญญาประกันชีวิตนั้นก็คือ สัญญาซึ่งบริษัทผู้รับประกันตกลงว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ หรือผู้สืบสิทธิของเขา โยมีเงื่อนไขว่า ผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตได้ตายภายในเวลา หรือมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาอันได้กำหนดไว้ และผู้เอาประกันชีวิตตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทผู้รับประกันชีวิตภายในเวลาที่กำหนด

ในการประกันชีวิตตนเอง ผู้เอาประกันอาจจะระบุให้ตนเองเป็นผู้รับเงินในกรณีที่ตนมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาที่กำหนดไว้ หรืออาจกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับเงินในกรณีตนเองตายภายในเวลาที่กำหนดในกรมธรรม์ก็ได้ เช่น ลูกหนี้เอาประกันชีวิตตนเอง แล้วระบุให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประกันชีวิตนั้น

สัญญาประกันอุบัติเหตุบางครั้งอาจรวมอยู่ในสัญญาประกันชีวิตเรียกว่า สัญญาประกันอุบัติเหตุสัญญาประเภทนี้ผู้รับประกันตกลงจะจ่ายเงินให้ตามจำนวนรายจ่ายจริงที่ผู้เอาประกันจะต้องเสียในกรณีเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามรายจ่ายที่เป็นจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อครั้ง เป็นต้น สัญญาประเภทนี้ หากมีเงื่อนไขกำหนดไว้ด้วยว่า ถ้าผู้เอาประกันได้รับอุบัติเหตุถึงชีวิต ผู้รับประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ ข้อกำหนดที่เป็นเงื่อนไขในส่วนนี้เป็นสัญญาประกันชีวิต ( ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 2572/2525 และที่ 1769/2521 )

สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่ไม่ต้องทำตามแบบ แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ กล่าวคือไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องทำตามแบบอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้นเพียงแต่คู่สัญญามีคำเสนอและคำสนองตรงตามเจตนาซึ่งกันและกันแล้วสัญญาประกันชีวิตก็เกิดขึ้นได้ และเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วย แต่ถ้าจะต้องถึงกับมีการฟ้องร้องบังคับคดีกันทางศาลแล้ว กฎหมายบังคับว่า ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้

ส่วนได้เสียในการประกันชีวิต

ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอไป แม้ไม่ใช่เจ้าของก็อาจเอาประกันภัยได้หากว่ามีส่วนได้เสีย ในทำนองเดียวกันสัญญาประกันชีวิตก็เดินตามหลักดังกล่าว แม้ไม่ใช่ชีวิตเรา เราก็อาจเอาประกันได้ ถ้าหากเรามีส่วนได้เสียเช่นสามีภรรยาอาจเอาประกันชีวิตของกันและกันได้ บิดา มารดา และบุตรมีส่วนได้เสียซึ่งเสียซึ่งกันและกันสามารถเอาประกันชีวิตซึ่งกันและกันได้

จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อาจเอาประกันชีวิตบุคคลอื่นได้นั้นก็ต่อเมื่อตนมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับผู้นั้นมากพอสมควร ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าหากบุคคลผู้เสียชีวิตไปก็จะทำให้สูญเสียเดือดร้อน หรือตนเองต้องรับผิดบางประการ อาจกล่าวได้ว่าการมีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้ที่ตนจะเอาประกันถือความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ บางท่านมีความเห็นเจาะจงลงไปทีเดียวว่า หากความสัมพันธ์ที่ผู้เอาประกันชีวิตมีต่อชีวิตบุคคลที่ถูกเอาประกันนั้น เป็นความผูกพันในลักษณะเป็นสิทธิหน้าที่ต่อกันทางกฎหมายแล้ว ก็ถือว่าเป็นส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตบุคคลนั้นได้

สำหรับกฎหมายไทยเรา ได้ยอมรับให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียสามารถเอาประกันชีวิตได้ คือ

- ตนเองย่อมมีส่วนได้เสียในชีวิตตนเองเสมอ

- สามีภรรยา

- บิดา มารดาและบุตร

- คู่หมั้น อาจเอาประกันชีวิตกันได้เพราะมีความผูกพันตามกฎหมายต่อกันอยู่

- ลูกจ้าง อาจเอาประกันชีวิตนายจ้างซึ่งมีหน้าที่จะต้องชำระค่าจ้างได้ และในทำนองเดียวกัน นายจ้างก็มีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกจ้างอาจเอาชีวิตลูกจ้างได้ ( ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 64/2526 )

- เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอาจเอาประกันชีวิตลูกหนี้ของตนได้ แต่ลูกหนี้ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของเจ้าหนี้ จึงไม่อาจเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้ได้

ในการทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง หากมีบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียเป็นผู้ติดต่อหรือจัดการให้รวมทั้งการจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันในนามของผู้เอาประกันชีวิตเอง มีข้อควรสังเกตดังนี้

1. หากข้อเท็จจริงได้ความว่า บุคคลที่สามนั้นเพียงแต่ช่วยเหลือจัดการให้มีการทำสัญญาประกันชีวิต และจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตให้ โดยในสัญญามิได้ระบุว่าบุคคลที่สามนั้นเป็นผู้รับประโยชน์ หรือโดยพฤติการณ์ไม่อาจแสดงได้ว่าบุคคลที่สามจะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตโดยการกระทำเช่นนั้น กรณีเช่นนี้พอถือได้ว่า ผู้เอาประกันชีวิตนั้นทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง สัญญาประกันชีวิตสมบูรณ์

2. หากข้อเท็จจริงได้ความว่า บุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตและออกเงินค่าเบี้ยประกันให้เพื่อที่จะเป็นผู้รับประโยชน์ หรือเป็นผู้รับโอนประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตนั้น กรณีเช่นนี้ให้ถือได้ว่า บุคคลที่สามเป็นผู้เอาประกันชีวิตผู้อื่นโดยไม่มีส่วนได้เสีย สัญญาประกันชีวิตไม่ผูกพัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1366/2509 อ.เอาประกันชีวิตของตนเอง ระบุให้ภรรยาของ ส.เป็นผู้รับประโยชน์ อ.ยากจนไม่มีเงินไม่ใช่ญาติของ ส. ส.จัดการให้ อ.เอาประกันชีวิต โดย ส. เป็นผู้เสียเบี้ยประกันและรับประโยชน์ ศาลวินิจฉัยว่า ส.เป็นผู้เอาประกันชีวิต อ. โดยไม่มีส่วนได้เสีย ขัดต่อมาตรา 863 ส.ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกรมธรรม์สัญญานั้น

กรมธรรม์ประกันชีวิต

เมื่อผู้เสนอขอเอาประกันชีวิต กรอกแบบฟอร์มตามที่ตัวแทนเสนอให้กรอกเรียบร้อยแล้ว ตัวแทนจะนำแบบฟอร์มนั้นไปยื่นต่อบริษัทผู้รับประกันเพื่อจะได้พิจารณาว่าสมควรที่จะรับประกันชีวิตตามที่ผู้เสนอขอประกัน ยื่นข้อเสนอมาหรือไม่ ในระหว่างนี้ถ้าบริษัทผู้รับประกันเห็นว่าควรจะต้องตรวจสุขภาพของผู้เสนอขอเอาประกันก่อนเพื่อประกอบการพิจารณา ตัวแทนของบริษัทก็จะนำตัวผู้เสนอขอประกันนั้นไปให้แพทย์ของบริษัทตรวจ โดยปกติผู้ที่มีอายุยังไม่ถึง 30 ปี บริษัทอาจงดเว้นไม่ตรวจสุขภาพ เพราะโดยทั่วไปเปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุในขีดกำหนดนี้ไม่ค่อยมีการเจ็บป่วยมากนักเมื่อเทียบกับผู้มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นบริษัทผู้รับประกันจึงอาจงดเว้นไม่ตรวจสุขภาพให้ เพียงแต่พิจารณาข้อมูลจากแบบฟอร์มคำขอประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวก็เป็นการเพียงพอ ทั้งยังเป็นการลดความยุ่งยากต่างๆลงได้อีกมาก นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ขอเอาประกันชีวิตด้วย

เมื่อบริษัทผู้รับประกันชีวิตได้พิจารณาแบบฟอร์มคำขอประกันชีวิตประกอบกับผลการตรวจสุขภาพจากแพทย์เรียบร้อยแล้ว เห็นว่าผู้เสนอขอเอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนพอที่บริษัทจะยอมรับเข้าเสี่ยงแทนผู้เสนอขอเอาประกันได้แล้ว บริษัทก็จะออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เสนอขอประกันยึดถือไว้ ตามปกติกรมธรรม์ประกันชีวิตนี้บริษัทจะออกให้ภายหลังที่ได้รับแบบฟอร์มคำขอประกันแล้วประมาณ 1 เดือนโดยเงื่อนไขว่า ผู้เสนอขอประกันได้ชำระเบี้ยประกันชีวิตงวดแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยทั่วไป กรมธรรม์ประกันชีวิตจะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าบริษัทแต่ละแห่งจะได้กำหนดรูปแบบไว้ นอกจากนั้นยังแตกต่างกันตามประเภทและชนิดของการประกันด้วย แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนผู้เอาประกันชีวิตต้องเสียเปรียบเพราะตามความจริงบริษัทผู้รับประกันเป็นผู้กำหนดแบบและเงื่อนไขของกรมธรรม์แต่เพียงฝ่ายเดียว ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 มาตรา 23 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้รวมทั้งเอกสารประกอบหรือแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยนั้นด้วย และในกรณีที่บริษัทออกกรมธรรม์ต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีสิทธิที่จะเลือกให้บริษัทต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือตามข้อความที่บริษัทออกให้ หรือตามแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบแล้วก็ได้ หรือจะบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตนั้นเสีย แล้วให้บริษัทคืนเบี้ยประกันทั้งสิ้นที่ได้ชำระไว้แล้วแก่บริษัทก็ได้

เหตุที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทผู้อกกรมธรรม์ประกันชีวิต ต้องออกกรมธรรม์ตามแบบที่นายทะเบียน ให้ความเห็นชอบ ก็เพื่อให้เป็นผลในการควบคุม เพราะกรมธรรม์ประกันชีวิตจะบรรจุข้อความที่สำคัญตลอดทั้งเงื่อนไข สิทธิพิเศษ และผลที่ผู้เอาประกันควรจะได้รับไว้ทั้งสิ้น ฉะนั้นกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงนับว่าเป็นเอกสารที่มีความสำคัญมาก ถ้าไม่มีการควบคุมกันแล้วก็จะทำให้ฝ่ายบริษัทผู้รับประกันเอาเปรียบประชาชนผู้เสนอขอเอาประกันได้ง่าย

นอกจากพระราชบัญญัติประกันชีวิตจะได้กำหนดวิธีการควบคุมเรื่องกรมธรรมประกันชีวิตไว้โดยเฉพาะแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 ยังได้กำหนดหลักทั่วไปที่จะต้องแจ้งไว้ในกรมธรรม์ด้วย

ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายกำหนดและควบคุมบริษัทผู้ประกันภัยในการออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้แล้วก็ตามแต่ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อยบริษัทรับประกันภัยสามารถกำหนดรายละเอียดในกรมธรรม์ให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายควบคุมไว้ได้ ถ้าไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีแล้วข้อกำหนดในกรมธรรม์นั้นก็ใช้ได้

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต

ปกติการรับประกันภัยนั้น ตัวผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยมักจะไม่ได้ติดต่อกันเองโดยตรงแต่มีคนกลางติดต่อให้ จึงมักเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆว่า ตัวแทนมีอำนาจกระทำการเพียงใด ตามปกติผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้แทนบริษัทประกันภัยนั้นไม่ได้รับอำนาจให้ตกลงทำสัญญาประกันภัยไว้ด้วย แต่เป็นนายหน้ารับคำขอทำสัญญาส่งไปยังบริษัทเท่านั้น บริษัทเป็นผู้ตัดสินใจทำคำสนองแม้จะมีอำนาจกระทำการแทนอยู่บ้าง แต่เท่าที่ได้รับมอบหมาย เช่นมีอำนาจขอรับเงินเบี้ยประกันภัยแทนบริษัท เป็นต้น ทั้งนี้ย่อมจะต้อง พิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนด้วยคืออำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป แต่ตามปกติแล้วผู้แทนเหล่านี้ไม่ได้รับอำนาจให้ทำสัญญา

ข้อเท็จจริงที่จะพิจารณาว่า ผู้แทนได้รับมอบอำนาจให้ทำสัญญาหรือไม่ มักจะพิจารณาได้ตามแบบพิมพ์ต่างๆที่บริษัทมอบให้ผู้แทนไป เช่น ใบรับเงิน เป็นต้น ข้อความในใบรับเงินนั้น ถ้ามีความเพียงรับเงินเบี้ยประกันภัยไว้เท่านั้นยังไม่พอว่ามีสัญญา แต่ถ้ามีข้อความแสดงว่าบริษัทตกลงหรือยินยอมรับประกันภัยตามคำเสนอของผู้ขอเอาประกันภัย หรือข้อความอื่นทำนองนั้น แสดงว่ามีสัญญาแล้ว ข้อความย่อผูกพันบริษัทเพราะเป็นใบรับตามแบบพิมพ์ของบริษัทเอง บริษัทย่อมผูกพันตามแบบพิมพ์ของตน

การพิจารณาว่ามีสัญญาเกิดขึ้นหรือยังมีความสำคัญในเรื่องการรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของบริษัท หากสัญญาไม่เกิดเพราะตัวแทนไม่มีอำนาจทำสัญญา ปรากฏว่าผู้ขอเอาประกันชีวิตตายเสียก่อนบริษัทสนองรับ ถือว่าสัญญาไม่ผูกพัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 532/ 2500 ผู้แทนบริษัทรับประกัน ซึ่งมีฐานะเพียงนายหน้าหาผู้เอาประกันภัยรับเบี้ยประกันภัยไว้แล้วส่งไปให้ผู้รับประกันภัย แต่ผู้เอาประกันชีวิตตายเสียก่อนที่ผู้รับประกันภัยสนองรับประกันชีวิต ดังนี้ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119

ข้อสังเกต ตามฎีกานี้ข้อเท็จจริงมีว่า ตัวแทนรับฝากเงินไว้เท่านั้น จึงยังไม่มีสัญญาจนกว่าบริษัทจะสนองเมื่อบริษัทสนองรับปรากฏว่าผู้ขอเอาประกันตายแล้ว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในวัตถุแห่งสัญญา เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม ตกเป็นโฆษะตามมาตรา 119

2. หลักการประกันชีวิต

มาตรา 889 บัญญัติว่า ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง

เงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

(1) การใช้เงินโยอาศัยความทรงชีพของผู้ถูกเอาประกันชีวิต คือ ผู้เอาประกันชีวิตส่งเบี้ยประกันชีวิตเป็นระยะเวลา เช่น รายเดือน หรือรายปี โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ถูกเอาประกันชีวิตมีอายุอยู่จนถึงเท่านั้นเท่านี้ บริษัทผู้รับประกันก็จะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ สัญญาประกันชีวิตประเภทนี้มีข้อเสียตรงที่ว่าหากผู้ถูกเอาประกันชีวิตมิได้ตายลงภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ผู้เอาประกันก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามสัญญา

เนื่องจากทั้งสองกรณีมีข้อบกพร่องอยู่ดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมทำประกันมากนัก ต่อมาบริษัทผู้รับประกันชีวิตได้นำเอาวิธีการทั้งสองอย่างมารวมกัน คือ กำหนดเป็นข้อสัญญาไว้ว่า ไม่ว่าผู้ถูกเอาประกันชีวิต จะมีชีวิตอยู่จนถึงกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ หรือตายภายในกำหนดเวลานั้นก็ตาม ผู้รับประกันก็จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ การประกันชีวิตแบบนี้เรียกว่า ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ผู้เอาประกันหรือทายาทมีสิทธิได้รับเงินคืนจากบริษัทผู้รับประกันเสมอไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือตายลงภายในเวลาที่กำหนดไว้ การประกันชีวิตแบบนี้ผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยประกันค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นวิธีที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบันมากกว่าการประกันชีวิตสองแบบแรก

- การประกันชีวิตจัดว่าเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ประเภทกำหนดจำนวนเงินแน่นอน

- การประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ หรือประกันส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งอวัยวะของร่างกาย ถึงแม้จะไม่เป็นประกันชีวิตเพราะมิได้มีการมรณะเป็นเงื่อนไขของการจ่ายเงินก็ตาม แต่ก็จัดเป็นการประกันประเภทกำหนดจำนวนเงินแน่นอนไม่ใช่ประกันวินาศภัย[1]

มาตรา 890 บัญญัติว่า จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น จะชำระเป็นเงินจำนวนเดียวหรือเป็นเงินรายปีก็ได้ สุดแต่จะตกลงกันระหว่างคู่สัญญา

จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น หมายถึง เงินที่ผู้รับประกันชีวิตจะจ่ายให้ตามสัญญา มิได้หมายถึงเงินเบี้ยประกันภัย ผู้รับประกันภัยมีความผูกพันต้องจ่ายตามสัญญา ไม่มีการจ่ายตามลำดับอย่างการประกันวินาศภัย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1769/2521 สัญญาประกันอุบัติเหตุเดินทางมีเงื่อนไขจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยทั้งในกรณีถึงแก่ความตายรวมทั้งบาดเจ็บ ดังนี้สัญญาที่เกี่ยวกับการใช้เงินอาศัยความมรณะของผู้เอาประกันภัยย่อมเป็นสัญญาประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ผู้รับประกันภัยต้องจ่ายเต็มจำนวนอันจะพึงใช้ตามมาตรา 890 จะจ่ายตามจำนวนวินาศภัยอันแท้จริงโดยเกี่ยงให้บังคับเอาแก่ผู้รับประกันภัยรายแรกก่อนย่อมมิได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 64/2516 สัญญาประกันภัยมีข้อกำหนดว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ความตายให้ค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่ง ถ้าเกิดอุบัติเหตุถึงตายก็ให้ค่าสินไหมทดแทนอีกอย่างหนึ่ง ดังนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิต ย่อมเป็นสัญญาประกันชีวิต

สัญญาประกันภัยซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประกันชีวิตนั้น ผู้รับประกันภัยต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนตามจำนวนที่เอาประกันภัยไว้ จะจ่ายตามจำนวนวินาศภัยอันแท้จริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877 หาได้ไม่

เกี่ยวกับเรื่องการประกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่ทำให้ถึงตายหรือไม่ก็ตาม ปัญหาที่พิพาทกันส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องตีความข้อความในกรมธรรม์ว่า การตายหรือบาดเจ็บนั้นเข้าเงื่อนไขที่ผู้รับประกันภัยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือไม่

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 170/2528 สามีโจทก์เอาประกันชีวิตไว้กับจำเลย โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต มีเงื่อนไขว่า ถ้าสามีโจทก์ถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุ จำเลยจะใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่เอาประกันในระหว่างอายุสัญญา สามีโจทก์เป็นลมล้มลงศรีษะฟาดพื้นสมองได้รับความกระทบกระเทือนถึงแก่ความตาย ดังนี้ เห็นได้ว่าผู้ที่ตายเป็นลมหกล้มเป็นเรื่องเกิดขึ้นโดยบังเอิญปราศจากเจตนาและความคาดหมายของผู้ตาย จึงถือได้ว่าผู้ตายตายเพราะอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์สองเท่าตามสัญญา

คำพิพากษาฎีกาที่ 1769/2521 ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางไว้กับบริษัทแรกสำหรับช่วงเวลาหนึ่ง แล้วขอเลื่อนวันเดินทางไปเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง บริษัทยังไม่อนุมัติ กับได้ขอเอาประกันกับอีกบริษัทหนึ่ง แต่บริษัทนั้นก็ยังมิได้ตอบสนองรับแล้วผู้เอาประกันจึงได้เอาประกันกับบริษัทจำเลยอีก ดังนี้ ข้อความที่ผู้เอาประกันรับรองว่าไม่เคยเอาประกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุ อันทำให้ถึงแก่ความตายหรือร่างกายได้รับบาดเจ็บไว้กับบริษัทอื่นก่อน เป็นข้อที่จำเลยอาจบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา แต่เมื่อเอาประกันภัยครั้งแรกเป็นคนละช่วงเวลากับที่เอาประกันกับจำเลย โดยบริษัทแรกยังมิได้อนุมัติให้เลื่อนวันเดินทางและการเอาประกันครั้งที่สองบริษัทนั้นก็ยังมิได้ตอบสนองรับจึงถือไม่ได้ว่า ผู้เอาประกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุไว้กับบริษัทอื่นก่อนจำเลย

คำพิพากษาฎีกาที่ 2218/2516 สัญญามีข้อตกลงว่า ทางสมาคมจะจ่ายเงินให้แก่ทายาทของสมาชิกเมื่อสมาชิกตาย ฝ่ายสมาชิกก็ตกลงจะส่งเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจให้แก่สมาคม โดยวิธีปฏิบัติดุจเดียวกับการส่งเบี้ยประกันภัยเพื่อประกันชีวิตไว้กับสมาคม เช่นนี้ สัญญาดังกล่าวว่าเข้าลักษณะสัญญาประกันชีวิตการประกอบธุรกิจของสมาคมจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12

คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2505 ผู้เอาประกันชีวิตถูกงูพิษกัดถึงตายโดยบังเอิญนั้น นับว่าเป็นอุบัติเหตุตามความหมายของคำว่า อุบัติเหตุ แห่งข้อสัญญาที่ว่า ต้องเป็นเหตุเนื่องมาจากร่างกายของผู้เอาประกันถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรง จากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญและปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น แล้ว ผู้รับประกันชีวิตจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาที่ 1806/2505 เมื่อผู้เอาประกันชีวิตได้ชำระเบี้ยประกันภัยแก่ผู้แทนของผู้รับประกันชีวิตภายในเวลาที่ผู้รับประกันชีวิตผ่อนเวลาให้ตามกรมธรรม์แล้ว แม้ผู้แทนนั้นจะไม่ปฏิบัติตามระเบียบของผู้รับประกันชีวิตอย่างไร ระเบียบนั้นจะเอาไปผูกมัดผู้ทำประกันชีวิตเพื่อปฏิเสธการใช้เงินตามสัญญา โดยอ้างว่าสัญญาขาดอายุเพราะผู้เอาประกันชีวิตไม่ส่งเบี้ยประกันตามกำหนดไม่ได้

3. การโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันชีวิต

มาตรา 891 บัญญัติว่า แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น

ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยได้ทำเป็นรูปให้ใช้เงินตามเขาสั่งแล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 309 มาใช้บังคับ

ประโยชน์ที่ควรได้จากสัญญาประกันภัยนั้นผู้เอาประกันภัยสามารถโอนต่อๆไปยังบุคคลอื่นได้กล่าวคือ

ถ้าเป็นวินาศภัย การโอนกระทำได้โดยวิธีการโอนวัตถุที่เอาประกันไปยังบุคคลภายนอกซึ่งจะเป็นผลให้สิทธิต่างๆที่ผู้เอาประกันภัยมีอยู่โอนไปยังบุคคลภายนอกด้วย ตามมาตรา 875 แต่จะโอนโดยวิธีส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้นไม่ได้ทั้งนี้ เพราะประกันวินาศภัยถือว่าสิทธิของผู้เอาประกันภัยก่อนที่จะเกิดภัยนั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอดเป็นมรดกและโอนกันไม่ได้ เว้นแต่จะกระทำโดยการโอนวัตถุที่เอาประกันภัยไปด้วยดังกล่าว[2]

สำหรับการประกันชีวิต ถือว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตมีค่าของมันเองอยู่ในตัวซึ่งจะมีค่ามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาและเบี้ยประกันที่ได้ส่งไปแล้ว ผู้เอาประกันจึงอาจโอนกรมธรรม์นั้นให้กับบุคคลภายนอกได้ สำหรับวิธีการโอนย่อมทำได้ตามแบบของการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 คือต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ และต้องบอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัยเป็นหนังสือ หรือผู้รับประกันภัยยินยอมเป็นหนังสือจึงจะใช้ยันผู้รับประกันภัยได้

ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยชนิดให้ใช้เงินตามเขาสั่งได้แก่ กรมธรรม์ประเภทที่ผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ หรือยังไม่มีชื่อผู้รับประโยชน์ การโอนให้กระทำตามบทบัญญัติมาตรา 309 คือ ผู้โอนสลักหลังกรมธรรม์นั้นแล้วส่งมอบให้กับผู้รับโอนไป

ข้อจำกัดในการโอนกรมธรรม์ประกันชีวิต

กฎหมายได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากกรณีเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการนี้ ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิโอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้อื่น คือ

1. ได้ส่งมอบกรมธรรม์นั้นให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และ

2. ผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น

ข้อสังเกต ต้องเข้าเงื่อนไขทั้งสองประการด้วย สิทธิของ


[1] นักกฎหมายหลายท่านให้ความเห็นว่า การประกันชีวิตเป็นการประกันภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Insurance of Persons ซึ่งมีวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นชีวิต ร่างกาย การประกันอวัยวะ สุขภาพ แม้จะไม่มีเงื่อนไขถึงตายก็เป็นประกันชีวิต ส่วนการกำหนดจำนวนเงินแน่นอนหรือไม่นั้นมีทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งเรียกกรมธรรม์ชนิดนี้ว่า Valued Policy

[2] ดูจิตติ ติงศภัทิย์, หน้า 93 ซึ่งอธิบายว่า ผู้เอาประกันภัยจะโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาในมาตรา 303,306 ไม่ได้ เพราะสิทธิของผู้เอาประกันภัยนั้นน่าจะถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว ฉะนั้นจึงไม่ตกทอดเป็นมรดก

แต่ถ้าเกิดวินาศภัยขึ้น สิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยจะเหมือยสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ธรรมดาทั่วๆไป ย่อมโอนและตกทอดเป็นมรดกได้

personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance