ความสำคัญของการประกันภัย

ความสำคัญของการประกันภัย แบ่งได้ดังนี้
1. ความสำคัญของการประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัย คือ การให้ความคุ้มครองและเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ชีวิตของตนเองและครอบครัว

2. ความสำคัญของการประกันภัยต่อสังคม คือ เป็นหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัย และช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมทำให้เกิดความมั่นใจ หากเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้น ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

3. ความสำคัญของการประกันภัยต่อเศรษฐกิจ เงินที่ได้จากการเก็บเบี้ยประกันภัย เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศในการกู้ยืมมาลงทุนทำธุรกิจหรือขยายธุรกิจให้มีความเจริญก้าวหน้า สำหรับธุรกิจที่ทำการประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สินที่ได้ทำประกันภัยไว้ ทำให้เกิดความมั่นคงในกิจการ
ประโยชน์ของการประกันภัย
1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย ดังนี้
- ให้ความคุ้มครองต่อบุคคล ครอบครัวและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน
- ช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยประหยัดและช่วยให้เกิดการออม

2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ ดังนี้
- ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาเป็นกังวลเกี่ยวกับการเสี่ยงภัย
- ช่วยในการขยายเครดิต ลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ
- ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในต้นทุนการผลิต
- ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมาก ๆ

3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
- ช่วยระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
- ช่วยลดภาระแก่สังคมและรัฐบาล

การบริหารความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงภัย คือ โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางด้านร่างกายหรือทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน

ลักษณะของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ มีดังนี้
1. ความเสี่ยงภัยนั้นควรเป็นความเสี่ยงภัยที่แท้จริงและเป็นความเสี่ยงภัยจำเพาะ
2. ความเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก
3. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดจากการกระทำ โดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย
4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้
5. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องไม่เป็นมหันตภัย
6. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
7. โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต้องคำนวณหรือประมาณได้


การหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (RISK AVOIDANCE)
โดยการพยายามหลีกเลี่ยงงานหรือสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายนั้น

2. การลดความเสี่ยงภัย (RISK REDUCTION) ทำได้โดย
การป้องกันการเกิดความเสียหาย จะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายขึ้น เช่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอ
การควบคุมความเสียหาย กระทำในขณะหรือภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น เช่นการที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
การแยกทรัพย์สิน เช่นการตั้งโรงงานและโกดังไว้คนละสถานที่

3. การรับเสี่ยงภัยไว้เอง (RISK RETENTION)
คือการรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยไว้เอง เนื่องจากภัยบางอย่างอาจเล็กมาก จนไม่จำเป็นต้องหาวีจัดการกับความเสี่ยงภัย เช่น ความเสื่อมสภาพของวัสดุสำนักงาน การเอาประกันภัยรถยนต์แบบมีความรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น

4. การโอนความเสี่ยงภัย (RISK TRANFER)
เป็นวิธีการจัดการกับความเสี่ยงภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ด้วยการโอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับความเสียหายทางการเงินและความรับผิดต่าง ๆ ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ทำได้ 2 วิธี คือ

4.1 การโอนความเสี่ยงภัยในรูปแบบของการประกันภัย (INSURANCE TRANSFER)

4.2 การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย (NON- INSURANCE TRANSFER)
เช่น การจ้างบริษัทอื่นทำความสะอาดภายนอกอาคารสูง ๆ

การประกันภัย สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. การประกันชีวิต (Life Insurance)
2. การประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance)


การประกันชีวิต
เป็นการบรรเทาหรือชดเชยความสูญเสียในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต หรือสูญเสียความสามารถในการหารายได้ในอนาคต ในรูปแบบของเงินทดแทนที่จ่ายโดยบริษัทประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ การออมทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการประกันชีวิตเป็นผลจากจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนเท่า ๆ กันอย่าสม่ำเสมอ

ชนิดของการประกันชีวิต
1. ประกันชีวิตแบบช่วงระยะเวลา (Term) เป็นกรมธรรม์ที่มีอายุจำกัด บริษัทจะจ่ายเงินสินไหมให้ผู้รับผลประโยชน์ หากผู้เอาประกันเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ แต่ไม่มีเงินคืนเมื่อครบอายุกรมธรรม์ ตัวอย่างการเลือกประกันประเภทนี้ เช่น เพื่อการประกันความเสี่ยงในการผ่อนบ้าน ถึงแม้ว่าผู้ที่เป็นรายได้หลักของครอบครัวเกิดเสียชีวิต สมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จะได้เงินประกันสำหรับชำระค่าผ่อนต่อโดยไม่มีภาระทางการเงิน
2. ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ (Endowment) เป็นกรมธรรม์ที่มีอายุจำกัด บริษัทจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิต แต่หากมีชีวิตครบอายุกรมธรรม์ก็จะมอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกัน
3. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Wholelife) เป็นการรับประกันชีวิตตลอดอายุผู้เอาประกัน (ในทางการค้า 90-99 ปี)
4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) ล้ายกับแบบออมทรัพย์ โดยบริษัทประกันชีวิตจะเก็บเบี้ยประกันจนถึงอายุระดับหนึ่งแล้วทยอยจ่ายคืนเงินให้กับผู้เอาประกัน
และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติมเช่น
การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ (Accident and dismemberment), การประกันกรณีทุพพลภาพ (Total Disability) ,หรือ การประกันสุขภาพ (Health Insurance)

การประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance)
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance)
2. การประกันทางทะเลและการขนส่ง (Marine Insurance)
3. การประกันรถยนต์ (Motor Insurance)
4. การประกันเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous)

1. การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) หมายถึง การประกันภัยที่คุ้มครองทรัพย์สินจากภัยไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้หุงต้มหรือให้แสงสว่างเพื่อการอยู่อาศัย และยังสามารถขยายความคุ้มครองภัยอื่น ๆ ได้อีกด้วย
2. การประกันทางทะเลและการขนส่ง (Marine Insurance) เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายของตัวเรือ และสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ
3. การประกันรถยนต์ (Motor Insurance)จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ ผู้ขับขี่รถยนต์และผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต บุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายหรือเมื่อรถคันที่เอาประกันสูญหาย

การประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) การประกันภัยรถยนต์ประเภทหนึ่ง คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัย ความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้หรือรถยนต์ที่ถูกโจรกรรม และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ซึ่งผู้ขัยขี่รถจะต้องรับผิดชอบ
2) การประกันภัยประเภทสอง คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเฉพาะในกรณีที่มีสาเหตุมาจากไฟไหม้หรือการโจรกรรม และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ซึ่งผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบ
3) การประกันภัยประเภทสาม คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้ขับขี่รถจะต้องรับผิดชอบ
4) การประกันภัยประเภทสี่ คุ้มครองความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกเฉพาะความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก โดยจำนวนเงินคุ้มครองจำนวน 100,000 บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
หมายถึงการประกันภัยรถประเภทที่ กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับ ผู้ประสบภัยโดยประกัน ภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการประเภทการประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ
personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance