ประวัติการประกันชีวิตในต่างประเทศ

ประวัติการประกันชีวิตในต่างประเทศ

ในระยะแรก การประกันชีวิตถูกมองว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชีวิตของมนุษย์อย่างไร้ศีลธรรม และในหลายประเทศได้ออกกฎหมายห้ามการดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะในฝรั่งเศสก่อนปี พ.ศ. 2363 และอิตาลีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ในอังกฤษไม่มีการห้ามดำเนินกิจการดังกล่าว นักทฤษฎีและนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรปจำนวนมากได้อุทิศตนในการพัฒนาความรู้ด้านประกันชีวิต จอห์น แกรนด์ ได้รวบรวมสถิติการตายเนื่องจากกาฬโรค และในปี พ.ศ. 2204 ได้พิมพ์หนังสือชื่อ ธรรมชาติและข้อสังเกตทางการเมืองผลงานดังกล่าวถือว่าเป็นการแสดงตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการประกันชีวิตเป็นครั้งแรก

Edmund Hally นักคณิตศาสตร์ได้ศึกษาสถิติการตายในเมือง Breslau ในระหว่างปี พ.ศ. 2230 - 2234 และได้พิมพ์ผลงานชื่อ สถิติมรณกรรมในเบรสเลาว์โทมัส ซิมป์สัน ได้พิมพ์ ผลงานเรื่อง ธรรมชาติและกฎการเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2283 เรื่อง ข้อกำหนดเบี้ยประกันรายปีและการลดอัตราการจ่ายกรณีตายในปี 2385 แนวความคิดในวิชาการด้านประกันชีวิตของ ซิมป์สัน กว้างและชัดเจนยิ่งกว่าผลงานของบุคคลอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น

ระยะแรกของการประกันชีวิต Richard Martin กับพวกได้เสนอแนวทางที่เกี่ยวกับ การประกันชีวิตเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2079 กล่าวโดยสรุปก็คือหากผู้เอาประกันถึงแก่ความตายภายใน 12 เดือน ผู้รับประกันจะจ่ายเงินเป็นจำนวน 400 ปอนด์ ต่อมาได้มีคดีขึ้นสู่ศาลว่า คำว่า 12 เดือนนั้น หมายถึง เดือนทางจันทรคติ หรือตามปฏิทิน ศาลได้ตัดสินเอาความผิดกับผู้รับประกัน เนื่องจากสัญญาประกันภัยเคลือบคลุม แนะแนวทางคำพิพากษาดังกล่าวยังใช้กันอยู่จนทุกวันนี้

ในปี พ.ศ. 2241 บาทหลวง William Assheton ได้วางโครงการก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตชื่อบริษัทเมอเซอร์ในลอนดอน โดยจุดประสงค์เพื่อเป็นการให้ประโยชน์ต่อแม่หม้ายในปีต่อมา ก็มีองค์การในลักษณะคล้ายกัน ภายใต้ชื่อว่า สมาคมเพื่อแม่หม้ายแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความจริงที่ว่า ยังไม่ได้มีการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการตายอย่างถูกต้อง อันจะเป็นกฎเกณฑ์ของการดำเนินการขององค์การต่าง ๆ ตามมาตรฐานของการประกันชีวิต ศาสตราจารย์ James L. Athearn ได้กล่าวว่า สมาคมดังกล่าวเป็นองค์การแรกของการประกันชีวิต

องค์การที่เกี่ยวกับการประกันชีวิตอีกองค์การหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากในอังกฤษคือ สมาคมมิตรสัมพันธ์เพื่อการประกันภัยซึ่งก่อตั้งใน พ.ศ. 2249 และต่อมาได้รวมอยู่ในสหภาพ นอร์ วิชในปี พ.ศ. 2409 องค์การนี้ได้โฆษณากิจการต่อสาธารณชน ดังนั้น อาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เสนอความรู้เกี่ยวกับการใช้ประกันชีวิตต่อสาธารณชน

บริษัทประกันชีวิตซึ่งเก่าแก่และยังดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบันนี้คือ สมาคมเพื่อการประกันชีวิตที่เสมอภาค” (The Society for the Equitable Assurance of Lives and Survivorship) หรือที่เรียกว่าว่า “Old Equitable” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2305 โดย Thomas Simpson และด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจาก Edward Rowe Mores อย่างไรก็ดี สมาคมนี้ได้เริ่มต้นก่อนหน้านั้น โดย โทมัส ซิมป์สัน และ เจมส์ ดิคสัน ในปี พ.ศ. 2229 แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ จนหลังเจมส์ ดิคสัน ตายลง โทมัส จึงได้ดำเนินการต่อมา จนสมาคมก่อตั้งขึ้นได้ สำหรับการคำนวณเบี้ยประกัน ได้คิดจากอายุของผู้เอาประกันและระยะเวลาที่คุ้มครอง การยื่นขอเอาประกันต้องทำเป็นหนังสือ และระบุข้อมูล 2 ประการคือ สถานะทางสุขภาพ รวมทั้งอาชีพและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกัน องค์การนี้ได้ใช้ประโยชน์จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์ ในอันที่จะกำหนดตารางเกี่ยวกับอัตราการตาย นับแต่ก่อตั้งองค์การนี้ ธุรกิจการประกันชีวิตได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วจนปัจจุบัน

แบบของการประกันชีวิต

มีมากมายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบคือ

แบบสะสมทรัพย์ คือสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้เอาประกันภัยใน 2 เงื่อนไขด้วยกัน คือ (1) เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือ (2) เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญา ตัวอย่างเช่น ผู้เอาประกันภัยซื้อประกันชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท กำหนดอายุสัญญา 20 ปี (กรมธรรม์สิ้นสุดเมื่อผู้เอาประกันภัยอายุ 60 ปี) ภายใต้เงื่อนไขนี้ (1) หากผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 60 ปี บริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท ให้ผู้เอา ประกันภัยหรือ (2) หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในปีใดปีหนึ่งก่อนอายุครบ 60 ปี บริษัทจะต้องจ่าย จำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์จำนวน 200,000 บาท

เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด

แบบตลอดชีพ คือสัญญาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยตลอดชีวิต โดย บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือในกรณีพิเศษที่ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตยืนยาวจนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายจำนวนเงิน เอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น

แบบชั่วระยะเวลา คือสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัย ตัวอย่างเช่น ผู้เอาประกันภัย อายุ 40 ปี ทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา กำหนด 10 ปี ต่อมาปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อ อายุ 45 ปี ซึ่งยังอยู่ในอายุสัญญา บริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ แต่หาก ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบกำหนดสัญญาแล้ว (อายุ 50 ปี) ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับเงินคืนจากบริษัท

เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง การเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น ๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา

แบบเงินได้ประจำ คือสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินงวดเท่าๆกันทุก เดือนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตลอดชีพ หรือในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ สำหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจำนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ

6.1.7.2 การประกันวินาศภัย (Non – Life Insurance)

สัญญาประกันวินาศภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นในอนาคต และในกรณีนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย

สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กล่าวคือเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเท่าใดก็ชดใช้เท่านั้น คือชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ เช่น บ้านหลังหนึ่งราคา 700,000 บาท เอาประกันภัยไว้ 700,000 บาท ต่อมาเมื่อบ้านหลังนั้นเกิดไฟไหม้เสียหายบางส่วนตีราคาได้ 250,000 บาท ผู้รับประกันก็จะชดใช้ให้ 250,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเกิดไฟไหม้เสียหายหมด ผู้รับประกันก็จะชดใช้ 700,000บาท

ประกันอัคคีภัย

ประวัติของบริษัทประกันอัคคีภัยได้เริ่มต้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2209 เป็นเวลานานถึง 5 วัน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล และประชาชนต้องไร้ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในยุโรปเป็นเหตุให้เกิดการผลิตเครื่องจักร และทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า ท่าเรือและอู่จอดเรือ สิ่งเหล่านี้เป็นมูลเหตุให้การประกันอัคคีภัยเจริญก้าวหน้าขึ้น เพราะประชาชนและนายทุนอุตสาหกรรมสำนึกถึงภัยอันเกิดจากอัคคีภัยและความจำเป็นของการมีประกันภัยเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของตนในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2210 Dr. Nicholas Barbon ได้ตั้งสำนักงานรับประกันอัคคีภัยเป็นครั้งแรก ตั้งชื่อง่ายๆ ว่า “The Fire Office” พอปี พ.ศ. 2229 Dr. Barbon ได้รับผู้อื่นมาเป็นหุ้นส่วนเพื่อร่วมเสี่ยงภัยซึ่งก่อนนี้เขารับเสี่ยงภัยอยู่เพียงผู้เดียว สามปีต่อมาก็มีสำนักงานประกันภัยขึ้นเป็นคู่แข่ง “The Friendly Society” ชื่อสำนักงานทั้งสองแห่งนี้ได้ออกกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และตั้งกลุ่มพนักงานดับเพลิงขึ้น เพื่อช่วยในการดังไฟที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่รับประกันภัยไว้ สำนักงานรับประกันอัคคีภัยในระยะแรกไม่ได้เป็นรูปบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นมากมาย แต่เป็นเพียงกิจการส่วนบุคคลหรือหุ้นส่วนที่รับประกันคุ้มครองอาคารซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็มีบริษัทประกันอัคคีภัยชื่อ “The sun Insurance office of London” ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2253 และเริ่มมีจำนวนบริษัทรับประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นตามความเจริญของอุตสาหกรรม แต่บริษัทเหล่านี้มิได้เจริญมาด้วยความราบรื่น การแข่งขันในระหว่างบริษัทเกี่ยวกับการลดราคาเบี้ยประกันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทที่มีอยู่ในขณะนั้นร่วมมือกันเพื่อวางอัตราเบี้ยประกันให้เป็นไปในระดับเดียวกัน ต่อมาเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2385 จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการประกันอัคคีภัยขึ้นในปี พ.ศ. 2403 เรียกว่า Fire Office Committee (F.O.C.) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน

เพื่อเป็นการตอบแทนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระให้แก่บริษัทในการเอาประกันภัยทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ บริษัทให้สัญญาต่อผู้เอาประกันภัยทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้บริษัทให้สัญญาต่อผู้เอาประกันภัยว่าหากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย เนื่องจาก

1) ไฟไหม้ แต่ไม่รวมถึงความเสียหาย

1.1 จากแรงระเบิด อันเป็นผลมาจากไฟไหม้ เว้นแต่แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย

1.2 โดยตรงหรือโดยอ้อมจากแผ่นดินไหว

1.3 ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจาก

1.3.1 การบูดเน่าหรือการระอุตามธรรมชาติ หรือ การลุกไหม้ขึ้นเองเฉพาะที่เกิดจากตัวทรัพย์สินนั้นเองเท่านั้น หรือ

1.3.2 การที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในระหว่างกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง

2) ฟ้าผ่า

3) แรงระเบิดของแก๊ส ที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊สจากแผ่นดินไหว

4) ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มพิเศษ ที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย

ในระหว่างระยะเวลาที่ได้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุในตารางกรมธรรม์ซึ่งรวมถึงช่วงเวลาที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงต่ออายุสัญญาประกันภัยด้วย (หากมี) บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงในขณะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย หรือเลือกที่จะทำการสร้างให้ใหม่ หรือซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม หรือจัดหทรัพย์สินมาทดแทนทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด หรือบางส่วน

ความรับผิดของบริษัทภายใต้กรมธรรม์ฉบับนี้จะไม่เกิน

1) จำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ทั้งหมด หรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามรายการแต่ละรายการในขณะที่เกิดความเสียหาย

2) จำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่ภายหลังจากหักมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาที่เอาประกันภัยเดียวกัน เว้นแต่บริษัทได้เคยตกลงไว้ก่อนแล้วในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ ให้จำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่นั้นกลับเต็มจำนวนดังเดิม โดยผู้เอาประกันภัยตกลงที่จะชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม

เงื่อนไขทั่วไปในการรับประกันภัย

กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครอง

1) ความเสียหายซึ่งเกิดจากสงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การกระทำของผู้ก่อการร้าย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก

2) ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรง หรือโดยอ้อมจากสาเหตุดังนี้

2.1 การแผ่รังสี หรือการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หรือจากกากนิวเคลียร์ใด ๆ อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์

2.2 การระเบิดของกัมมันตรังสี หรือส่วนประกอบของนิวเคลียร์ หรือทรัพย์อันตรายอื่นใดที่อาจเกิดการระเบิดในกระบวนการนิวเคลียร์ได้

3) ความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล หรือกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่ง ยกเว้นความเสียหายส่วนเกินกว่าจำนวนเงิน ซึ่งจะได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวนั้น

4) ทรัพย์สินต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

4.1 สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์

4.2 เงินแท่ง หรือเงินรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง หรือทองรูปพรรณ หรืออัญมณี

4.3 โบราณวัตถุหรือวัตถุสำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท

4.4 ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลายแบบ หรือแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์

4.5 หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด ๆ

4.6 วัตถุระเบิด

4.7 ไดนาโม หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจาก หรือเพราะการเดินเครื่องเกินกำลัง หรือได้รับกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า เฉพาะเครื่องที่เกิดการเสียหายในกรณีดังกล่าว

5) ความเสียหายต่อเนื่องใด ๆ ทุกชนิดเว้นแต่การสูญเสียรายได้จากค่าเช่าที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ว่าได้รับความคุ้มครอง

6) ความเสียหายจากการเผาทรัพย์สิน โดยคำสั่งเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย

ประกันรถยนต์

ความหมาย การประกันภัยรถยนต์มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้

1. การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งในที่นี้ซึ่งเรียกว่าผู้เอาประกันภัยได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไปให้บุคคลไปให้ อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยงภัยแทนโดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้ รับประกันภัยเป็นการตอบแทนในการที่ผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยนั้น ซึ่งเงินจำนวนนี้ เรียกว่า เบี้ยประกันภัยเมื่อผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัยแล้ว หากรถยนต์คัน ที่เอาประกันภัยไว้ได้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์หรือแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลทั้งภายนอกและที่โดยสารอยู่ในรถยนต์คันนั้นผู้ เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เรียกว่าค่าสินไหมทดแทนโดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เท่ากับจำนวน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้ ซึ่งเงินจำนวนเงินที่ตกลงทำสัญญาไว้ เรียกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัย” (หนังสือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

2. การประกันภัยรถยนต์ หมายถึงการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ไม่ว่าจะเป็นเก๋งส่วนบุคคล รถบรรทุก รถโดยสาร และรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้แก่ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์ นอกจากนี้ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายละทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วยโดยบริษัทหรือผู้รับประกันภัยจะ ออกหนังสือให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเรียกว่า กรมธรรม์ประกันภัย หรือหลักฐานของสัญญาประกันภัยซึ่งระบุว่าบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยแต่ละรายก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บริษัทประกันภัยตามอัตราความเสี่ยงของตน (หนังสือการประกันภัย บุษรา อึ๊งภากรณ์ )

การประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยที่ใครอยากทำก็ทำ ไม่มีการบังคับกัน การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัยที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง ในการขับขี่และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ กรมการประกันภัยจึงได้ปรับปรุงโครงสร้าง การประกันภัยรถยนต์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระบบสากลโดยนำเอา ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ กลุ่ม ขนาด และอายุรถ ฯลฯ มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย

ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ การประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองให้เลือก 3ประเภทคือ

ประเภท 1 (ชั้น 1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ

- ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

- ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 2 (ชั้น 2) ผู้ทำประกันภัยประเภทนี้จะได้รับความคุ้มครอง คือ

- ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 3 (ชั้น 3) ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้

- ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

โดยสรุปของความคุ้มครอง มีดังนี้

1. การประกันประเภท 1 ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ และต่อบุคคลภายนอก (ทั้งบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)

2. การประกันประเภท 2 ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอก และความสูญหาย/ไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (ทั้งตัวบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)

3. การประกันประเภท 3 ให้ความคุ้มครองความเสียหายเฉพาะต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น (ทั้งตัวบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่าประกัน พ.ร.บ.การประกันภัยชนิดนี้ เป็นการประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย ใครไม่ทำมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ต้องถูกปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท การประกันภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองความรับผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใครก็ตาม ดังนี้

1. กรณีบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

2. กรณีบาดเจ็บ ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ชดใช้เต็มจำนวนความคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท


วัตถุประสงค์หลัก

เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับ ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และค่าเสียหายเบื้องต้นอย่าง ทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

รถที่ต้องทำประกันภัย

คือ รถทุกคันทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์และหมายรวมถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง

ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า คนข้ามถนน ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งไว้ในรถ ทั้งนี้รวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย โดยจะได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายนี้ทั้งสิ้น

ผู้มีสิทธิทำประกันภัยรถยนต์

ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัย ปัจจัยสำคัญในการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์

ลักษณะของการใช้รถยนต์เป็นตัวกำหนดความเสี่ยงภัย รถยนต์รับจ้างย่อมมีความเสี่ยงภัยมากกว่ารถยนต์เพื่อใช้ในการพาณิชย์ หรือส่วนบุคคล

ชนิด/ขนาด และอายุของรถยนต์ (โดยเฉพาะยี่ห้อ และรุ่นของรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราเบี้ยประกันภัย จะขึ้นอยู่กับราคาอะไหล่ และค่าซ่อมเป็นตัวกำหนด)

อายุของผู้ขับขี่ สำหรับส่วนลดเบี้ยประกันภัยในการประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ของรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยระบุได้ไม่เกิน 2 คน

จำนวนเงินเอาประกันภัย หรือทุนประกันภัย

ประกันทางทะเล

สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาระหว่างผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประกันภัย โดยผู้รับประกันภัยตกลงที่จะชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อวัตถุที่เอาประกันภัยได้เกิดวินาศภัยทางทะเลขึ้น และผู้เอาประกันภัยตกลงชำระเบี้ยประกันภัยแก่ผู้รับประกันภัยเป็นการตอบแทน

คู่สัญญาตามสัญญาประกันภัยทางทะเล ก็คือ ผู้เอาประกันภัย (Assured) กับ ผู้รับประกันภัย (Insurer /Underwriter) โดยผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย ส่วนผู้รับประกันภัยก็คือบุคคลซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อวัตถุที่เอาประกันเกิดวินาศภัยทางทะเลขึ้น

ในสัญญาประกันภัยทางทะเล ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อวัตถุที่เอาประกันเกิดวินาศภัยทางทะเลตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกัน โดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนี้ต้องเป็นไปตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัย

ประเภทของการประกันภัยทางทะเล

(1) การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance): คุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ, เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหินโสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย

(2) การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance): คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้

บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้

ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้

การประกันภัยทางทะเล เป็นการประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย

ประกันเบ็ดเตล็ด

ก. การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก

การทำประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน เช่น การประกันอัคคีภัยการประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด เมื่อเกิดความสูญเสีย หรือเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือผู้รับประกันภัย อาจชดใช้เป็นเงินสด หรือโดยการซ่อมแซม ให้กลับสู่สภาพเดิม หรือสร้างให้ใหม่ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย

โดยหลักการแล้วการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียในทางการค้า (รายได้ของผู้เอาประกันภัย) เมื่อธุรกิจต้องหยุดชะงักลง อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยไว้และเป็นทรัพย์สิน ที่มีผลต่อการค้าของ ผู้เอาประกันภัย วัตถุประสงค์ของการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักคือ เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัย กลับสู่สถานะทางการเงินดังเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีอัคคีภัยหรือภัยอื่นๆ ที่เอาประกันภัยเกิดขึ้น

ข. การประกันสุขภาพ

การประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย

ค. การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง

การประกันภัยการเดินทาง เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยหากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุ และผลของอุบัติเหตุนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยบาดเจ็บต้องได้รับการรักษาพยาบาล หรือสูญเสียอวัยวะ มือ เท้า และสายตา หรือเสียชีวิต แต่ทั้งนี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกิดขึ้น ภายในระยะเวลาระหว่างการเดินทางที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น คุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 - วันที่ 14 สิงหาคม 2543 ตลอดระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยเดินทางไป กลับ กรุงเทพ-อเมริกา เป็นต้น

ง. การประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน

การประกันภัยเจ้าบ้านเป็นการประกันภัยที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองต่อผู้เป็นเจ้าของอาคาร ประเภทบ้านอยู่อาศัย สำนักงานในบ้าน หรือห้องชุดอยู่อาศัยในแฟลต แมนชั่น หรือคอนโดมิเนียม ให้ได้รับ ความคุ้มครองหลายอย่างไว้กรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ความคุ้มครองต่อความเสียหายจากอัคคีภัย ความเสียหายจากโจรกรรมหรือการลักทรัพย์ ความเสียหายต่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหาย ต่อทรัพย์สินในอาคาร การสูญเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว การจ่ายเงินชดเชย สำหรับการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เป็นต้น การประกันภัยประเภทนี้ให้ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองที่หลากหลายแล้ว ยังสะดวกในการต่ออายุการประกันภัยด้วย เนื่องจากเป็นการผนวกเอากรมธรรม์หลายรูปแบบ ไว้ในกรมธรรม์เดียว และที่สำคัญเป็นการช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำประกันภัยหลายประเภทหลายกรมธรรม์


จ. การประกันภัยรับผิดต่อสาธารณะ

การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ หรือ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อสาธารณชน จัดเป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ซึ่งให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือความบาดเจ็บทางร่างกาย ตลอดจนกระทั่งการเสียชีวิตของบุคคลภายนอกซึ่งผู้เอาประกันภัยต้อง รับผิดชดใช้ตามกฎหมาย แต่ไม่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรง ต่อทรัพย์สิน หรือ ร่างกายของผู้เอาประกันภัย

ฉ. ประกันอุบัติเหตุเอื้ออาทร

การประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร เป็นการประกันภัยที่จัดทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยให้ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยทั่วทุกคน ผู้ซื้อประกันภัยจะได้รับเงินชดเชยเมื่อเกิดการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ การประกันภัยเอื้ออาทรนี้มีทั้งบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตร่วมกันเป็นผู้รับประกัน โดยกำหนดเบี้ยประกันภัยที่ถูกเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้ประชาชนทุกคนสามารถซื้อประกันภัยได้

การประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรให้ประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรด้วยการจ่ายเงินค่าทดแทนจำนวน 300,000 บาท และหากผู้เอาประกันภัยและคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายเสียชีวิตหรือตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรทั้งสองคนในอุบัติเหตุคราวเดียวกัน กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรจะจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มเป็นพิเศษให้ผู้เอาประกันภัยอีก 100,000 บาท

คำว่า ทุพพลภาพถาวรหมายถึง ทุพพลภาพถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใดๆ ในอาชีพประจำ และอาชีพอื่นๆได้ โดยสิ้นเชิงตลอดไป และรวมไปถึงกรณีสูญเสียมือทั้งสองข้าง หรือเท้าทั้งสองข้าง หรือสายตาทั้งสองข้าง หรือมือข้างหนึ่งและเท้าหนึ่งข้าง หรือมือหนึ่งข้างและสายตาหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างและสายตาหนึ่งข้าง

ทุพพลภาพถาวร ในที่นี้หมายความว่าผู้เอาประกันภัยไม่สามารถทำงานไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียมือทั้ง 2 มือ เท้าทั้ง 2 เท้า หรือ สายตาทั้ง 2 ข้าง

สูญเสียมือและเท้า หมายถึง การถูกตัดออกจากร่างกายตั้งแต่ข้อมือหรือข้อเท้า และให้หมายรวมถึงการสูญเสียสมรรถภาพในการใช้งานของอวัยวะดังกล่าวข้างต้น โดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ชัดเจนว่าไม่สามารถกลับมาใช้งานได้อีกตลอดไป

สูญเสียสายตา หมายถึง ตาบอดสนิทและไม่มีทางรักษาให้หายได้ตลอดไปนอกจากนี้กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ยังมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองดังต่อไปนี้

การกระทำของผู้เอาประกันภัย ขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้ คำว่า ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรานั้น ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์ระดับแอลกอฮอล์ตั้งแต่ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายร่างกายตนเอง

การได้รับเชื้อโรค ยกเว้นได้รับเชื้อโรคจากบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ

การแท้งลูก ยกเว้นการแท้งลูกนั้นเกิดจากอุบัติเหตุโดยตรง

สงคราม การรุกราน หรือการกระทำของศัตรูต่างชาติ สงครามกลางเมือง การปฏิวัติ การกบฏ การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาล การจลาจล

การนัดหยุดงาน การก่อการร้าย

อาวุธนิวเคลียร์ การแผ่รังสี หรือกัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือกากนิวเคลียร์ใดๆ

ขณะที่ผู้เอาประกันภัยก่ออาชญากรรม หรือขณะที่ถูกจับกุมหรือหลบหนีการจับกุมในคดีอาญาที่กระทำโดยเจตนาเป็นองค์ประกอบความผิด และกฎหมายกำหนดโทษทางอาญาจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป

ขณะที่ผู้เอาประกันภัยปฏิบัติหน้าที่เป็นทหาร ตำรวจ หรือ อาสาสมัครและเข้าปฏิบัติการในสงคราม หรือปราบปราม

สำหรับค่าเบี้ยประกันภัยการทำประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรนั้นจ่ายเพียงปีละ 365 บาท โดยผู้ที่ จะทำประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรนั้น จ่ายเพียงปีละ 365 บาท โดยผู้ที่จะทำประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรได้ต้อง มีอายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ทำประกันภัย พร้อมนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ โดยระบุชื่อผู้รับประโยชน์ซึ่งจะต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสียกับผู้เอาประกันภัยที่อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผย หรือมีความสัมพันธ์ในความเป็นญาติร่วมสายโลหิตเดียวกันและที่อยู่ในความอุปการะของผู้เอาประกันภัย โดยสามารถซื้อได้เพียงคนละ 1 กรมธรรม์ท่านั้น หลังจากซื้อกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร ผู้เอาประกันภัยจะได้รับใบรับรองการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรเป็นหลักฐาน

การดำเนินการในส่วนการรับประกันภัยและจ่ายค่าทดแทนนั้น ภาคธุรกิจเป็นผู้ดำเนินการ กล่าวคือเป็นความร่วมมือกันระหว่างสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิต โดยมีบริษัทประกันภัยวินาศภัย 41 บริษัท และบริษัทประกันชีวิต 9 บริษัท รวมเป็น 50 บริษัท ร่วมกันรับประกันภัย ทั้งนี้ในการดำเนินการได้มอบหมายให้บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารโครงการ และมอบให้บริษัทกลางคุ้มครองเป็นผู้ประสบภัยจากรถจำกัด เป็นผู้ดำเนินการในเรื่องการเรียกร้องค่าทดแทน

ในกรุงเทพมหานคร สามารถหาซื้อประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทรได้ที่บริษัทหรือสาขาบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับในต่างจังหวัดในพื้นที่ซึ่งเป็นเขตเทศบาล สามารถซื้อได้ที่สาขาบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนในพื้นที่ซึ่งมีกำนันผู้ใหญ่บ้าน ให้ติดต่อซื้อได้ที่กำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยกำนันผู้ใหญ่บ้านจะนำเบี้ยประกันภัยพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์นำส่งที่ทำการปกครองอำเภอ และที่ทำการปกครองอำเภอจะนำส่งที่ทำการปกครองจังหวัด เพื่อนำส่งบริษัทผู้บริหารโครงการต่อไป

การประกันอุบัติเหตุและทุพพลภาพ

การประกันอุบัติเหตุและทุพพลภาพนี้ เป็นสัญญาเพิ่มเติมเข้ากับกรมธรรม์ประกันชีวิตหลัก คำว่าอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่พึงคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้น ปราศจากเจตนาหรือสิ่งใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือโดยบังเอิญ และเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสาเหตุโดยตรงและไม่เกี่ยวข้องจากเหตุอื่นๆ ในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายและมีหลักฐานแสดงให้เห็นรอยฟกช้ำ หรือบาดแผลโดยชัดเจนจากภายนอกร่างกาย ยกเว้นกรณีจมน้ำตาย (ซึ่งปกติไม่มีบาดแผล หรือรอยฟกช้ำปรากฏให้เห็น) รวมทั้งกรณีบาดเจ็บภายในอันทำให้ถึงแก่ความตายและสามารถตรวจพบการบาดเจ็บดังกล่าวได้ เมื่อมีการชันสูตรพลิกศพ

6.1.8 การควบคุมกิจการประกันภัยโดยรัฐ

เนื่องจากการดำเนินงานในการรับประกันภัยเป็นกิจการที่กว้างขวางต้องใช้เงินทุนมากและโดยที่กิจการประกันภัยต้องเกี่ยวข้องอยู่กับประชาชนเป็นจำนวนมาก หากผู้รับประกันภัยดำเนินงานไม่ได้ อาจเป็นเหตุให้ประชาชนผู้เอาประกันไว้ต้องเสียหายเดือดร้อน และเป็นผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมอีกด้วย ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากเมื่อคราวที่บริษัทนครหลวงประกันชีวิต จำกัด ถูกกระทรวงเศรษฐการสั่งถอนใบอนุญาตเมื่อปี พ.ศ. 2507 และต่อมาก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ปรากฎว่ามีเจ้าหนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ถึง 8,590 ราย เป็นจำนวนหนี้ถึง 75 ล้านบาทเศษ ส่วนบริษัทบูรพาประกันชีวิต จำกัด ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เมื่อปี พ.ศ. 2512 ก็มีเจ้าหนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ถึง 5,458 ราย เป็นจำนวนหนี้ 65 ล้านบาทเศษ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ด้วยเหตุนี้ประเทศต่าง ๆ ที่มีการดำเนินงานประกันภัยจึงได้เข้าควบคุมสอดส่องผู้รับประกันภัยอย่างใกล้ชิดโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้รับประกันภัยได้ดำเนินกิจการไปด้วยดี มีหลักฐานทางการเงินมั่นคงสามารถให้ความช่วยเหลือหรือจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ และให้ผู้รับประกันภัยได้ปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัยด้วยความเป็นธรรม

การควบคุมกิจการประกันภัยให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐเพื่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกิจการประกันภัย จำเป็นต้องอาศัยมาตรการกฎหมายเป็นสำคัญ ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ . ศ . 2471 ขึ้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2471 ปรากฏเหตุผลที่ออกกฎหมายฉบับนี้ว่า โดยที่ทรงพระราชดำริว่า พาณิชย์และอุตสาหกรรมของประเทศได้วิวัฒนาการถึงซึ่งความจำเป็นที่จะต้องกำหนดการควบคุมกิจการค้าทั้งหลายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน เพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของพสกนิกรให้เป็นที่เรียบร้อยสืบไปและจำนวนกิจการค้าขายหลายอย่างที่กระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็มีประกันภัยรวมอยู่ด้วยดังปรากฏตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า:

มาตรา 7 ห้ามมิให้บุคคลผู้ใดประกอบกิจการประกัน ฯลฯ หรือกิจการอื่น อันมีสภาพคล้ายคลึงกันในกรุงสยาม เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะการนั้น

ในเวลาที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะการ ห้ามมิให้ประกอบกิจการค้าขายดังกล่าวนั้นในกรุงสยาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทางเสนาบดีเจ้าหน้าที่ ฯลฯ

และบทบัญญัติมาตรา 8 ได้กำหนดโทษทางอาญาไว้สำหรับผู้ละเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติด้วย

หลังจากมีพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชนออกประกาศใช้แล้ว บริษัทประกันภัยที่จะประกอบกิจการได้ต้องได้รับอนุญาตจากระทรวงพาณิชย์และคมนาคมก่อน แต่ก็ยังไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตปรกอบธุรกิจประกันภัย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ประกาศกำหนดเงื่อนไขการขอรับอนุญาตประกอบธรุกิจประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เงื่อนไขทั้งสองฉบับได้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ เพราะบริษัทที่ขออนุญาตประกอบการประกันภัยในระยะแรกนี้เป็นบริษัทประกันภัยต่างประเทศเป็นส่วนมาก ส่วนการประกันภัยประเภทอื่น นอกจากสองประเภทดังกล่าวก็ยังไม่มีเงื่อนไขควบคุม แต่ก็จะต้องปฏิบัติการบางประการตามที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมกำหนดไว้

สำหรับเงื่อนไขดังกล่าวแล้วซึ่งกำหนดไว้ในชั้นแรกนี้ มีข้อความไว้เพียงว่าบริษัทประกันกันต้องมีทุนชำระแล้วอย่างน้อย 2 แสนบาท ต้องฝากหลักทรัพย์ไว้กับรัฐบาลไทยหรือสถานทูตไทยในต่างประเทศ ต้องพิมพ์โฆษณาฐานะการเงินของบริษัทในหนังสือพิมพ์เป็นประจำปี และกำหนดให้ส่งรายงานแสดงกิจการประจำปีและรายงานแสดงทรัพย์สิน อย่างไรก็ดี นับว่าเป็นก้าวแรกของการเริ่มงานควบคุมบริษัทประกันภัยที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

ต่อมาได้มีประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ระบุให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการอันเกี่ยวกับการประกันภัย ผู้ใดจะเริ่มประกอบกิจการประกันภัยจำเป็นต้องขอรับอนุญาตก่อน และบุคคลที่ประกอบกิจการประกันภัยอยู่แล้วในวันที่ใช้พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 ต้องขอรับอนุญาตภายในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2472 เป็นอันว่าผู้ประกอบกิจการประกันภัยจะต้องจดทะเบียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองประกันภัย ซึ่งตั้งขึ้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2472 สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม

การกำหนดเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยขึ้นนั้นก็เพราะทางการประสงค์จะให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้เอาประกันและทราบถึงฐานะการเงินของบริษัทว่ามีความมั่นคงเพียงใดโดยกำหนดให้บริษัทประกันอัคคีภัยต้องมีหลักทรัพย์ประกันฝากไว้ต่อทางการเป็นจำนวนหนึ่งแสนบาท และบริษัทรับประกันชีวิตต้องฝากหลักทรัพย์ไว้ต่อทางการเมื่อเริ่มประกอบการประกันชีวิตจำนวนห้าหมื่นบาท และจะต้องฝากเพิ่มขึ้นจากจำนวนหนึ่งในสามของเบี้ยประกันที่บริษัทได้รับทุกปี บริษัทที่ประกอบกิจการนอกเหนือจากกิจการประกันภัยดังกล่าวทั้งสองประเภทนี้ ไม่ต้องฝากหลักทรัพย์ประกัน

มีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า ในระหว่างการประชุมร่างเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัย พ.ศ. 2472 นั้น ได้มีบริษัทประกันภัยยื่นความจำนงขอประกอบกิจการประกันภัยในประเทศไทยเป็นจำนวนถึง 286 ราย แยกประเภทได้เป็น ประกันอัคคีภัย 74 ราย ประกันชีวิต 6 ราย ประกันภัยทางทะเล 177 ราย ประกันภัยรถยนต์ 15 ราย ประกันอันตรายทั่วไป 3 ราย ประกันภัยโจรกรรม 2 ราย ประกันภัยเบ็ดเตล็ด 9 ราย และทั้ง 286 รายนี้ได้รับอนุญาตชั่วคราวให้ทำการประกันภัยได้

บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันภัยเป็นอันดับแรกตามประเภทของ กิจการประกันภัยมีดังนี้

บริษัทโตเกียวมารีนแอนด์ไฟร์อินชัวรันส์ จำกัด สัญชาติญี่ปุ่น ได้รับอนุญาตประกอบกิจการประกันอัคคีภัยในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2472 โดยมีบริษัทมิตซุยบุซันไกซาเป็นตัวแทนในประเทศไทย

บริษัทเตียอันเป๋าเฮี่ยม จำกัด จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ประกอบการประกันภัยทางทะเลในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2472

บริษัทขอเตอร์ยูเนียนอินชัวรันส์ จำกัด สัญชาติอังกฤษ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันอุบัติเหตุในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยมีบริษัทโซม์แอนด์คอมปานีเป็นตัวแทนในประเทศไทย

การพัฒนามาตรการกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการประกันภัย

ปี พ.ศ. 2492 กระทรวงเศรษฐการซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาการอันเกี่ยวกับการประกันภัยได้กำหนดเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยขึ้นใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเงื่อนไขฉบับปี 2472 แต่แม้จะมีมีข้อความและรายละเอียดมากขึ้น เงื่อนไขฉบับปี 2492 ก็ยังขาดหลักการสำคัญที่ควรจะมีอีกหลายอย่าง ดังนั้น ในปี พ . ศ . 2507 รัฐบาลจึงได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย และ ร่างพระราชบัญญัติ ประกันชีวิต เข้าสู่การพิจารณาของสภาร่าง รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีกฎหมายควบคุมการประกอบการประกันภัยทั้ง 2 ประเภทนี้ขึ้นไว้โดยเฉพาะ ซึ่งในที่สุดร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ก็ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2510

เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พอที่จะนำมากล่าวรวมกันได้ดังนี้คือ ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายควบคุมประกันวินาศภัย และการประกันชีวิตโดยเฉพาะ การควบคุมกิจการดังกล่าวไดด้อาศัยเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พุทธศักราช 2471 ซึ่งยังไม่รัดกุมพอ เป็นเหตุให้บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตมีฐานะการเงินไม่มั่นคง ทำให้ผู้เอาประกันวินาศภัย และผู้เอาประกันชีวิตเสียเปรียบและไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ขึ้น เพื่อควบคุมบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตให้ดำเนินการโดยเล็งถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันวินาศภัยและ ผู้เอาประกันชีวิต มิให้ดำเนินการไปในทางที่เสี่ยงภัย และเพื่อส่งเสริมกิจการประกันภัยให้เจริญ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นให้ทันกับความต้องการของประชาชน เพราะการประกันวินาศภัยเป็นการช่วยให้ผู้ที่ถูกละเมิดทางร่างกายและทรัพย์สินได้รับชดใช้ค่าเสียหาย และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เจ้าของทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยและความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมในการลงทุนในประเทศได้อย่างดีอีกด้วย และเพราะการประกันชีวิตนอกจากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินแก่ผู้เอาประกันชีวิตแล้ว ยังเป็นสถาบันการเงินที่สำคัญในการช่วยพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

ข้อที่ควรสังเกตก็คือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย และพระราชบัญญัติประกันชีวิต มุ่งในทาง ควบคุมบริษัทรับประกันภัยให้ดำเนินการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย มิได้มีผลเป็นการยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการประกันภัยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 แต่ประการใด หลักการเกี่ยวกับเรื่อง สัญญาประกันภัยคงเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากในบางเรื่อง ซึ่งพระราชบัญญัติใหม่ทั้ง 2 ฉบับนี้ได้บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งจะได้ศึกษากันต่อไป

อนึ่ง เมื่อต้นปี พ.ศ. 2515 ได้มี ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารชนพุทธศักราช 2471 ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น พร้อมทั้งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายฯ แล้วได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมกิจการต่าง ๆ ขึ้นใหม่ โดยมีความในข้อ 5 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวว่า เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

(1) การประกันภัย ฯลฯ

และมีข้อ 21 กำหนดว่า ให้ถือว่ากิจการประกันภัย ฯลฯ เป็นกิจการที่รัฐมนตรีได้ประกาศตามข้อ 5 แล้ว ฯลฯซึ่งก็มีผลว่า ผู้ใดจะประกอบกิจการประกันภัยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ( คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการประกันภัย ตามประกาศคณะปฏิวัติข้อ 12 ) และในขณะเดียวกันก็มีข้อ 6 กำหนดว่า ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 5 การประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้นซึ่งมีผลว่าการประกอบกิจการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนี้

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2515 ได้มี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 วางข้อกำหนดควบคุมกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะใกล้กับการประกันชีวิตขึ้นไว้โดยเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากกิจการนี้โดยมิชอบและเพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชน แต่ต่อมาได้มี พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.. 2517ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 นั้นเสีย แล้วได้วางข้อกำหนดในการจัดตั้ง และการดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตลอดจนวิธีการควบคุมสมาคมดังกล่าวขึ้นใหม่ซึ่งจะได้กล่าวถึงพระราชบัญญัตินี้เมื่อถึงคราวศึกษาเรื่องการประกันชีวิต

อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนฐานะของสำนักงานประกันภัยเป็นกรมการประกันภัย ดังนั้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แทนพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิตที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจประกันภัย ตลอดจนมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความคล่องตัวและสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการกำหนดขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เสียใหม่ เพื่อให้สามารถควบคุมและกำกับดูแลกิจการธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่กระนั้น ด้วยเหตุที่ในปัจจุบัน การค้าบริการระหว่างประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จนเกิดการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกัน อันก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะโดยการออกกฎระเบียบของประเทศต่าง ๆ หรือโดยการเอาเปรียบของผู้ประกอบธุรกิจนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีความพยายามจัดให้มีการเจรจาทางการค้าในระดับระหว่างประเทศ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ด้วยผลของการประชุมการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย ก็ได้มีความตกลงกันกำหนดให้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ (THE GENERAL AGREEMENT ON TRADE IN SERVICES-GATS) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปิดเสรีทางการค้าบริการอย่างเป็นธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งได้ให้สัตยาบันความตกลงของ GATS ดังกล่าวนี้ จึงได้รับผลกระทบในการที่อาจจะต้องแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับกิจการประกันภัย อันเป็นธุรกิจบริการประเภทหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศได้เข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัยได้ง่ายขึ้นต่อไปในอนาคต

personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance