หลักการ การกำกับดูแลการเสนอขายกรมธรรม์ Unit Link

หลักการ
การกำกับดูแลการเสนอขายกรมธรรม์ Unit Link

ในระยะที่ผ่านมามีบริษัทประกันชีวิตหลายแห่งประสงค์ที่จะออกกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการ
ลงทุน (Unit-linked Life Insurance Policy : "กรมธรรม์ unit link")
โดยกรมธรรม์ดังกล่าวมีลักษณะพิเศษ คือ
เบี้ยประกันที่บริษัทประกันชีวิตเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยจะถูกแบ่งออกเป็น
2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นค่าเบี้ยประกัน
สำหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะและเงื่อนไขการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ
และส่วนที่ 2 เป็นส่วนเงินลงทุน
ที่จะนำไปลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และข้อจำกัดการลงทุนของผู้เอาประกันภัย
โดยบริษัท
ที่รับจัดการเงินดังกล่าวจะออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้เอาประกันภัย
เงินลงทุนส่วนนี้จึงไม่รับประกันผลตอบแทน

เนื่องจากบริษัทประกันชีวิตมีตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการประกันภัยเป็นเครือข่ายในการเข้าถึงผู้ลงทุนในวงกว้าง
หากสนับสนุนให้มีการออกและเสนอขายสินค้าและบริการผ่านตัวแทนขายประกันชีวิตเหล่านี้ก็จะส่งผลดีต่อการขยายจำนวนผู้ลงทุนซึ่งก่อให้เกิดโครงสร้างตลาดทุนที่ดี
ประกอบกับปัจจุบันกรมธรรม์ประเภทที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ investment
product ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เช่น
กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งกรมธรรม์ unit link
จะช่วยเพิ่มรูปแบบกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต
มากขึ้น ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต.
และกรมการประกันภัยจึงเห็นควรสนับสนุนให้บริษัทประกันชีวิตสามารถออกกรมธรรม์
unit link ดังกล่าวได้ โดยการบริหารจัดการส่วนการลงทุนเข้าข่ายเป็น
"การจัดการกองทุนรวม" ภายใต้
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
และผู้ทำหน้าที่จัดการส่วนการลงทุนของกรมธรรม์ unit link
จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ซึ่งสำนักงานจะเป็นผู้กำกับดูแล
ในขณะที่กรมการประกันภัยจะเป็นผู้กำกับดูแลส่วนที่เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตและบริษัทประกันชีวิตตามปกติ

ด้วยลักษณะที่กรมธรรม์ unit link
มีส่วนของการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมผูกติดอยู่กับกรมธรรม์ประกันชีวิต
เมื่อครบอายุการทำกรมธรรม์ unit link หรือสัญญาการทำกรมธรรม์ unit link
ถูกยกเลิกก่อนครบอายุ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนในจำนวนที่ไม่แน่นอน
จำนวนเงินที่ได้รับคืนจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
ผู้เอาประกันภัยของกรมธรรม์ unit link
จึงเป็นผู้รับความเสี่ยงในเรื่องความไม่แน่นอนของ
ผลตอบแทนจากส่วนของการลงทุน แทนความคุ้นเคยกับลักษณะเดิม ๆ
ของกรมธรรม์ทั่วไปที่บริษัทประกันชีวิต
เป็นผู้รับประกันจำนวนเงินบางส่วนที่ผู้เอาประกันจะได้รับคืนเมื่อครบกำหนดระยะเวลา
นอกจากนั้น ผู้เกี่ยวข้อง
หลักของกรมธรรม์ unit link มี 2 ฝ่ายคือ บริษัทประกันชีวิต
และบริษัทจัดการ ทำให้ลักษณะของกรมธรรม์ unit link
ค่อนข้างซับซ้อนและแตกต่างกับกรมธรรม์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเงื่อนไข
หรือวิธีการในแบบประกันที่แตกต่างกัน
ออกไป ดังนั้น เพื่อให้การเสนอขายกรมธรรม์ unit link เป็นไปอย่างเหมาะสม
และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจ
เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจที่ดีพอของผู้เอาประกันภัยในอนาคต
การกำกับดูแลตัวแทนขายกรมธรรม์ unit link จะมี
มาตรฐานคล้ายกับการกำกับดูแลตัวแทนขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ทั้งในเรื่องการอบรมและการสอบขึ้นทะเบียนของตัวแทนขาย
รวมทั้งการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานในการให้คำแนะนำและการปฏิบัติงาน
(code of conduct)
โดยมีบางส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของกรมธรรม์
unit link ซึ่งกรมการประกันภัยจะเป็นผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลตัวแทนขายกรมธรรม์
unit link ต่อไป
รายละเอียดเกี่ยวกับการกำกับดูแลการเสนอขายกรมธรรม์ unit link มีดังต่อไปนี้

1. การให้ความเห็นชอบตัวแทนขายกรมธรรม์ Unit Link

จากการที่กรมธรรม์ unit link
ประกอบด้วยส่วนของกรมธรรม์ประกันชีวิตและหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวม ซึ่งมีส่วนที่จะได้รับเงินคืนแน่นอนเมื่อเสียชีวิตหรือเมื่อมีการทรงชีพครบตามเงื่อนไข
และส่วนของ
ผลตอบแทนที่มีความไม่แน่นอนจากการลงทุนในหน่วยลงทุน กรมธรรม์ unit link
จึงถือเป็นเครื่องมือทางการเงิน
ที่แตกต่างจากกรมธรรม์ประกันชีวิตตามปกติและหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทั่วไป
ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่จะกำกับดูแลผู้ขายกรมธรรม์ unit link
จึงมีส่วนที่แตกต่างจากการกำกับดูแลตัวแทนขายประกันชีวิตที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการประกันภัย
และการกำกับดูแลผู้ขายหน่วยลงทุนตามปกติที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ก.ล.ต. ซึ่งกรมการประกันภัยจะเป็นผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ขายกรมธรรม์
unit link
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ขาย
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมแล้ว และมีความประสงค์ที่จะขายกรมธรรม์ unit link
ด้วย จะต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขายกรมธรรม์ unit link
กับกรมการประกันภัย ในทางกลับกัน
ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ขายกรมธรรม์ unit link
กับกรมการประกันภัยแล้ว
และมีความประสงค์ที่จะขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปกติก็จะต้องได้รับความ
เห็นชอบเป็นผู้ขายหน่วยลงทุนจากสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วยเช่นกัน

1.1 ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขายกรมธรรม์ unit link ได้ ประกอบด้วย
พนักงานของบริษัทประกันชีวิต หรือ
ตัวแทนขายประกันชีวิต หรือพนักงานของบริษัทจัดการ
ที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจาก
กรมการประกันภัย
1.2 บริษัทประกันชีวิตที่จะขายกรมธรรม์ unit link ได้
(ในฐานะตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุนของ
บริษัทจัดการ) จะต้องได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยด้วย
1.3 ผู้ขายกรมธรรม์ unit link ต้องได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนเป็น
"ผู้ทำหน้าที่ขายกรมธรรม์ unit link"
จากกรมการประกันภัย
ซึ่งคุณสมบัติส่วนหนึ่งของผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำหน้าที่ขายกรมธรรม์
unit link นี้
จะต้องผ่านการทดสอบความรู้เทียบเท่ากับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ขายหน่วยลงทุนระดับ
1 (IP)
ของสำนักงาน ก.ล.ต. เนื่องจากกรมธรรม์ unit link เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่
ทำให้ผู้เสนอขายกรมธรรม์ unit link
ในระยะเริ่มแรกควรต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจค่อนข้างดีเกี่ยวกับการประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ประกอบกับการเสนอขายกรมธรรม์โดยปกติจะต้องให้คำแนะนำที่พิจารณาจากวัตถุประสงค์
ฐานะการเงิน และสุขภาพของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นสำคัญ ดังนั้น
ผู้ขายกรมธรรม์ unit link จึงต้องให้
คำแนะนำที่สอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมของลูกค้าแต่ละราย
ซึ่งเป็นขอบเขตหน้าที่ที่จะกระทำได้โดยบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ขายหน่วยลงทุนระดับ
1
1.4 ตัวแทนขายประกันชีวิตที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขาย Unit Link
กับกรมการประกันภัยแล้ว หากต้องการขาย
หน่วยลงทุนทั่วไปจะต้องขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ขายหน่วยลงทุนกับสำนักงานอีกครั้ง
โดยกำหนดให้สามารถแสดงความจำนงผ่านทางกรมการประกันภัย
ซึ่งจะส่งผ่านข้อมูลให้กับสำนักงาน

2. ตัวแทนช่วง


- เฉพาะในการขายกรมธรรม์ Unit Link
ตัวแทนสนับสนุนสามารถตั้งตัวแทนสนับสนุนช่วงได้ โดย
ตัวแทนสนับสนุนช่วงที่ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นได้เฉพาะบุคคลธรรมดาที่ขึ้นทะเบียนแล้วกับ
กรมการประกันภัย
- บริษัทประกันชีวิตที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการประกันภัยเท่านั้นที่จะสามารถตั้งตัวแทนสนับสนุนช่วงได้
- บริษัทประกันชีวิตต้องทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนสนับสนุนช่วงเป็นหนังสือโดยกำหนดสิทธิและหน้าที่ที่
ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศ
และมีข้อสัญญาที่กำหนดให้ตัวแทนสนับสนุนช่วงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด
ในประกาศ
- บริษัทประกันชีวิตต้องดูแลให้ตัวแทนสนับสนุนช่วงปฏิบัติตามข้อสัญญาและข้อกำหนดในประกาศด้วย

3. หน้าที่และมาตรฐาน ในการขายกรมธรรม์ Unit Link

3.1 ขอบเขตของบุคคลผู้ทำหน้าที่ขายและการให้คำแนะที่เหมาะสมกับลูกค้า
1. ในการติดต่อเพื่อเสนอขาย ชักชวน ให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลทั่วไป
และรับคำสั่งจากลูกค้า
ต้องกระทำโดย IP
2. ในการเสนอขาย ผู้ขายกรมธรรม์ unit link
ต้องทำความรู้จักลูกค้าก่อนให้คำแนะนำ
หรือต้องให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายโดยมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการให้คำแนะนำ
3. ในการสั่งซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละครั้งตามเงื่อนไขในกรมธรรม์
หากลูกค้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการลงทุนในกองทุนที่เคยทำสัญญาไว้
ตัวแทนต้องให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าโดยปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันก่อนทุกครั้ง
4. การปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันจะเป็นไปตามแนวทางที่กำหนด

3.2 เอกสารที่ใช้ในการขาย และการเปิดเผยคำเตือน
1. เปิดเผยคำเตือน ดังต่อไปนี้
เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงความแตกต่างของการทำกรมธรรม์ทั่วไป กับกรมธรรม์
unit link
(1) คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการทำกรมธรรม์ unit link
"การทำกรมธรรม์ unit link มีความเสี่ยง
ผู้เอาประกันภัยอาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันส่วนที่จัดสรรเข้ากองทุนรวม"
(2) คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุน
(3) คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น
(4) คำเตือนเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมว่าเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ
ซึ่งผลการดำเนินงานของกองทุนรวมควบกรมธรรม์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ
(5) คำเตือนในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนตัวหรือการให้ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นปัจจุบัน
หรือไม่ครบถ้วน ผู้เอาประกันภัยอาจได้รับคำแนะนำที่ไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของผู้เอาประกันภัย
เนื่องจากคำแนะนำที่ให้นั้นได้พิจารณา
จากข้อมูลเพียงเท่าที่ผู้เอาประกันภัยเปิดเผยให้ทราบ
- คำเตือน ในข้อ 3(1) ต้องเปิดเผยในใบคำสั่งซื้อ (ที่ลูกค้าลงนาม)
โดยมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า
ตัวอักษรปกติและมีสีที่เน้นหรือเด่นกว่าจากอักษรปกติ

2. แจกหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญที่ผู้เอาประกันภัยควรทราบ
พร้อมกับใบจองซื้อหรือใบคำสั่งซื้อ
3. ต้องจัดให้มีและแจกคู่มือผู้เอาประกันภัย
หรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายกรมธรรม์
ซึ่งต้องใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (รายละเอียดข้อมูล ภาคผนวก ก.)

3.3 การขายและการให้คำแนะนำเพื่อการขาย
1. ในการเสนอขายกรมธรรม์ unit link ทุกครั้ง
(1) เปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยแสดงเจตนาว่าต้องการจบการสนทนา
ก) ชื่อผู้ติดต่อ และชื่อของบริษัทประกันชีวิตที่ตนทำหน้าที่แทน พร้อมทั้งแสดงบัตร
ประจำตัวซึ่งจะต้องเป็นบัตรที่กรมการประกันภัยออกให้
ข) วัตถุประสงค์ในการติดต่อ
ค) สิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการรับการติดต่อ
ง) สิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะยกเลิกกรมธรรม์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(2) ห้ามมิให้ตัวแทนเร่งรัดให้ผู้เอาประกันภัยตัดสินใจซื้อกรมธรรม์
และหากผู้เอาประกันภัยได้แสดง
เจตนาว่าไม่ต้องการซื้อกรมธรรม์หรือต้องการจบการสนทนา ให้หยุดการเสนอขายทันที
(3) ห้ามมิให้ติดต่อกับผู้เอาประกันภัยที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของผู้เอาประกันภัยที่ไม่ต้องการรับ
การติดต่อ ภายในระยะเวลา 2 ปี
(4) บริษัทจัดการต้องให้สิทธิผู้เอาประกันภัย ถอนการแสดงเจตนาได้
ภายในระยะเวลา ดังนี้
ก) กองทุนที่อยู่ในช่วง IPO :
ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิยกเลิกคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนได้ ภายใน
ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 วันทำการนับแต่วันที่ระบุในใบจองซื้อ
โดยได้รับเงินคืนเต็มจำนวนและไม่เสียค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุนหรือค่าใช้จ่ายใด

ข) กองทุนที่อยู่หลัง IPO :
ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิยกเลิกคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนได้ ภายใน
ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 วันทำการนับแต่วันที่ระบุในใบคำสั่งซื้อ
โดยได้รับคืนตามราคา NAV ณ
วันทำการรับซื้อคืนวันแรกถัดจากวันแสดงเจตนาขายคืนหน่วยลงทุน และ
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน
(5) ห้ามมิให้ตัวแทนเรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากผู้เอาประกันภัยนอกเหนือจากที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องชำระตามที่กรมธรรม์หรือหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมกำหนด
2. ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้คำแนะนำ (รายละเอียดข้อมูล ภาคผนวก ข.)
3. กรณีเป็นการบริการซื้อขายผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ปฏิบัติเป็นไปตามประกาศว่าด้วย
หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

4. การควบคุม

- ให้บริษัทประกันชีวิตจัดทำคู่มือสำหรับตัวแทนขายประกันกรมธรรม์ unit
link เพื่อให้พนักงานและ
ตัวแทนทราบว่าต้องปฏิบัติอย่างไรในการเสนอขายกรมธรรม์ unit link
และต้องดูแลให้พนักงานและ
ตัวแทนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
- บริษัทประกันชีวิตที่ได้รับความเห็นชอบ ต้องจัดทำรายงาน
การเริ่มหยุดการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขายกรมธรรม์
และการแต่งตั้งหรือยกเลิกตัวแทนสนับสนุนช่วง ให้กรมการประกันภัยทราบ
- ตัวแทนสนับสนุนการขายกรมธรรม์ unit link
ต้องจัดให้มีระบบรับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีที่เป็นการร้องเรียนด้วยวาจา
ให้จัดทำบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ผู้เอาประกันภัย
ลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องก่อนตัวแทนสนับสนุนจะดำเนินการแก้ปัญหา
2. ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว
3. แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
4. เมื่อมีข้อยุติให้แจ้งลูกค้าทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีข้อยุติ
5. เมื่อมีข้อยุติ ให้แจ้งผลการดำเนินการที่สามารถแก้ไข
หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหา ให้เป็นที่พอใจ
ของผู้ร้องเรียนแก่บริษัทจัดการ เพื่อดำเนินการต่อภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีข้อยุติ
6. สรุปจำนวนข้อร้องเรียนที่สามารถแก้ไขและไม่สามารถแก้ไข
เป็นหมวดหมู่ของข้อร้องเรียนและ

แจ้งให้กรมการประกันภัยทราบเป็นรายไตรมาสภายใน 15
วันนับแต่วันสิ้นไตรมาสนั้น
7. จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและการดำเนินการไม่น้อยกว่า 2
ปีนับแต่วันที่มีข้อยุติ

5. ขอบเขตการทำหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิต และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ

ในการเสนอขายกรมธรรม์ unit link
บริษัทประกันชีวิตเป็นตัวแทนของบริษัทจัดการตามมาตรา 100
เพื่อรับคำสั่งซื้อหรือขายหน่วยลงทุนจากผู้เอาประกันภัยส่งให้บริษัทจัดการ
หากบริษัทประกันชีวิตไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผยชื่อผู้เอาประกันภัยให้บริษัทจัดการทราบ
บริษัทประกันชีวิตอาจใช้รหัสแทนชื่อจริงของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้
เช่น การใช้ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ว่า "ผู้เอาประกันภัยกรมธรรม์ unit link
เลขที่ 001" แทนชื่อ "นาย ก" เป็นต้น อย่างไรก็ดี
บริษัทประกันชีวิตไม่สามารถกระทำการใด ๆ
ในฐานะตัวแทนของผู้เอาประกันภัยได้
และหากบริษัทประกันชีวิตจะใช้รหัสแทนชื่อจริงของผู้เอาประกันภัยกับบริษัทจัดการ
บริษัทประกันชีวิตจะต้องมีระบบความพร้อม
ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าการทำหน้าที่เป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุนตามปกติ
เช่น ระบบการจัดทำบัญชี
ผู้ถือหน่วยลงทุนที่แท้จริง ระบบรองรับการออกมติของผู้เอาประกันภัย
ระบบการนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดการกองทุนให้ผู้เอาประกันภัย เป็นต้น
ลักษณะของการเปิดบัญชี
หรือการส่งคำสั่งซื้อ/ขายหน่วยลงทุนของบริษัทประกันชีวิตถึง
บริษัทจัดการจะต้องทำแยกเป็นรายผู้เอาประกันภัย (แยกแต่ละรหัส)
ไม่สามารถรวมคำสั่งซื้อหรือขายเป็น 1 คำสั่งได้
และการสั่งซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปีหรือแต่ละครั้งของการจ่ายเบี้ยของผู้เอาประกันภัย
จะเป็นไปตามคำสั่งซื้อ
ที่ผู้เอาประกันภัยมีคำสั่งไว้ตามข้อกำหนดในสัญญากรมธรรม์ unit link
ทั้งนี้ บริษัทจัดการยังคงต้องรับผิดชอบต่อการทำหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิตในฐานะตัวแทน
ของบริษัทจัดการ เช่น กรณีเกิดเหตุเสียหายกับผู้เอาประกันภัย
หรือจำนวนหน่วยลงทุนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ
ไม่ถูกต้อง ดังนั้น
การทำสัญญาระหว่างบริษัทจัดการกับบริษัทประกันชีวิตอาจต้องมีความรอบคอบมากขึ้น
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการรับมอบอำนาจทั่วไปที่ยังไม่ครอบคลุมการมอบอำนาจในบางเรื่อง

6. การให้ความเห็นชอบผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนกรมธรรม์ unit link
หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน
6.1 มีคุณสมบัติ
บุคคลธรรมดา: วุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรี
หรือประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี และผ่านการทดสอบตาม
หลักสูตรที่สำนักงาน ก.ล.ต. หรือกรมการประกันภัยให้ความเห็นชอบ -
ซึ่งในเบื้องต้นจะต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรผู้วางแผนการลงทุน
(IP)
นิติบุคคล: มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อม และมีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์สุจริต
ก) กรณีที่มิได้ปกปิดชื่อจริงของผู้เอาประกันภัย
1. ระบบการรับลูกค้า วิธีการรับลูกค้า และการให้คำแนะนำ -
รวมถึงระบบที่มั่นใจได้ว่าลูกค้ามีความเข้าใจในการทำกรมธรรม์ unit link
2. ระบบการรับคำสั่งซื้อขายจากพนักงานในสังกัดและส่งคำสั่งซื้อขายให้บริษัทจัดการ
3. ระบบการนำส่งเงินค่าขายหน่วยลงทุนให้บริษัทจัดการ
และระบบการนำส่งเงินค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ลูกค้า
4. ระบบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการเก็บรักษาความลับของลูกค้า
5. ระบบการรับเรื่องร้องเรียน
ข) กรณีปกปิดชื่อจริงของผู้เอาประกันภัย
- มีความพร้อมของระบบงานตามข้อ ก) และระบบเพิ่มเติม ดังนี้
1. ระบบการจัดทำบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนที่แท้จริง
2. ระบบรองรับการออกมติของผู้เอาประกันภัย
3. ระบบการนำส่งข้อมูล รับ
/ส่งเอกสารหรือรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน
ให้ผู้เอาประกันภัย

6.2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด
6.3 บุคคลธรรมดาต้องเข้ารับอบรม refresher course อย่างน้อย 1 ครั้งภายในช่วง 2 ปี

ภาคผนวก
ก. คู่มือผู้เอาประกันภัย หรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายกรมธรรม์ มีข้อมูล ดังนี้
: สิทธิของผู้เอาประกันภัย
1. สิทธิของผู้เอาประกันภัยในการยกเลิกการทำกรมธรรม์ในเวลาที่กำหนด เช่น
รายละเอียดที่หากลูกค้า
บอกยกเลิกการทำกรมธรรม์ในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจะได้เงินคืนในลักษณะอย่างไร
(ตัวอย่างที่หมายเหตุ)
2. สิทธิในการรับทราบการจัดสรรเบี้ยประกันในการลงทุนในกองทุนรวม
3. สิทธิในการขอรับหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลรายละเอียดโครงการจากตัวแทน
4. สิทธิในการได้รับทราบรายชื่อของบริษัทจัดการทุกแห่งที่รับจัดการกองทุนรวมควบกรมธรรม์ที่
เสนอขายโดยบริษัทประกันชีวิตนั้น
5. สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ของบริษัทจัดการ
บริษัทประกันชีวิต รวมทั้งชื่อ
ที่อยู่ และเลขประจำตัวของตัวแทน
6. สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนที่ได้รับคำแนะนำเพื่อซื้อหน่วยลงทุนนั้น
ตลอดจนรับทราบคำเตือนและคำอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุน
7. สิทธิในการได้รับทราบข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยหรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน
เช่น การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเพื่อการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
เป็นต้น
8. สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น
ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนอาจได้รับจากการซื้อกรมธรรม์
รวมทั้งการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน เป็นต้น
9. สิทธิในการแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการรับการติดต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 ปี
: การรับข้อร้องเรียนของผู้เอาประกันภัย
10. วิธีการรับข้อร้องเรียน
11. สถานที่รับข้อร้องเรียนของผู้เอาประกันภัย - บริษัทประกันชีวิต กรมการประกันภัย

หมายเหตุ: ตัวอย่างที่ 1 :
บริษัทจัดการแห่งหนึ่งตกลงกับบริษัทประกันชีวิต
ว่าจะนำเบี้ยส่วนที่เป็นเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนในวันที่ระบุในใบจองซื้อ
(หรือใบคำสั่งซื้อ)
หน่วยลงทุนซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่ผู้เอาประกันภัยลงนามในการทำสัญญากรมธรรม์
unit link โดยให้สิทธิผู้เอาประกันภัยยกเลิกถอนการแสดงเจตนาได้ภายในระยะเวลา
2 วันนับแต่วันที่ระบุในใบจองซื้อ (หรือใบคำสั่งซื้อ)
ในขณะที่บริษัทประกันชีวิตต้องใช้เวลาพิจารณาผู้เอาประกันภัยอีก 12
วันก่อนส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัย
ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถยกเลิกและขอคืนค่าเบี้ยประกันได้ภายใน 15
วันนับแต่วันส่งมอบกรมธรรม์ ดังนั้น
การแสดงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิอาจใช้ตาราง ดังนี้
ระยะเวลา ส่วนที่ 1 เงินค่าประกัน ส่วนที่ 2 เงินลงทุนในกองทุนรวม
ยกเลิกภายใน 2 วันนับแต่วันที่ในใบจองซื้อ(หรือใบคำสั่งซื้อ) เต็มทั้งจำนวน -
กรณีลงทุนในช่วง IPO: เต็มทั้งจำนวน
- กรณีลงทุนในช่วงหลัง IPO: ราคา NAV (ไม่คิดค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน)
ยกเลิกภายใน 15 วันตั้งแต่วันได้รับกรมธรรม์ เต็มทั้งจำนวน ราคา NAV หัก
ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน
ยกเลิกภายหลัง 15 วันตั้งแต่วันได้รับกรมธรรม์ จำนวนเบี้ย หัก
ค่าดำเนินการของบริษัทประกันชีวิต ราคา NAV หัก ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน

ตัวอย่างที่ 2 : บริษัทจัดการแห่งหนึ่งตกลงกับบริษัทประกันชีวิต
ว่าจะนำเบี้ยส่วนที่เป็นเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุน
ในวันที่ระบุในใบจองซื้อหน่วยลงทุนซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่บริษัทประกันชีวิตอนุมัติการทำกรมธรรม์
โดยให้สิทธิ
ผู้เอาประกันภัยยกเลิกถอนการแสดงเจตนาได้ภายในระยะเวลา 2
วันนับแต่วันที่ระบุในใบจองซื้อ
ในขณะที่บริษัทประกันชีวิตใช้เวลาพิจารณาผู้เอาประกันภัย 10
วันก่อนส่งมอบกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัย
และผู้เอาประกันภัยสามารถยกเลิกและขอคืนค่าเบี้ยประกันได้ภายใน 15
วันนับแต่วันส่งมอบกรมธรรม์ ดังนั้น
การแสดงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบอาจเป็น ดังนี้
แสดงรายละเอียดกรณียกเลิกการทำกรมธรรม์ unit link
ส่วนที่ 1 : ค่าเบี้ยประกันสำหรับการให้ความคุ้มครอง -
หากแจ้งให้ตัวแทนทราบภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับกรมธรรม์
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนเต็มทั้งจำนวน
ส่วนที่ 2 : เงินลงทุนที่จัดสรรเป็นเงินลงทุนในกองทุนรวม
ก) หากแจ้งให้ตัวแทนทราบภายใน 2 วันนับแต่วันที่กรมธรรม์ได้รับอนุมัติ
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนเต็ม
ทั้งจำนวน (กรณีลงทุนในกองทุนช่วง IPO) หรือได้รับคืนที่ราคา NAV
(ไม่คิดค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน - กรณีลงทุน
ในกองทุนช่วงหลัง IPO)
ข) หากแจ้งให้ตัวแทนทราบภายหลังจากข้อ ก)
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนที่ราคา NAV หัก ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน

ข. มาตรฐานในการให้คำแนะนำ
1. ให้คำแนะนำด้วยความสุจริต เป็นธรรม
รวมทั้งใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการให้คำแนะนำ
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ
2. ให้คำแนะนำตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับ
โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนรวมและมีเอกสาร
หลักฐานที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้
3. ให้คำแนะนำโดยอธิบายให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมที่ให้คำแนะนำนั้น
4. ไม่นำข้อมูลของผู้เอาประกันภัยไปเปิดเผย
เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย
5. เปิดเผยข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยหรือต่อการตัดสินใจ
ในการลงทุน
6. เปิดเผยให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น
ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนอาจได้รับจากการซื้อกรมธรรม์และ/หรือกองทุนรวม
7. ไม่ให้คำแนะนำซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
หรือละเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งอาจ
ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น
การรับประกันผลตอบแทนในกองทุนรวมที่มิได้มีลักษณะการประกันไว้เช่นนั้น
เป็นต้น หรือให้คำแนะนำโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่น
8. ไม่ให้คำแนะนำในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้เอาประกันภัยซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน
บ่อยครั้งหรือเกินกว่าสมควร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้รับค่าธรรมเนียมหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการให้บริการการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว
(กรณีตัวแทนได้รับผลประโยชน์ใด ๆ
จากการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้เอาประกันภัย)

personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance personal finance ,world finance ,finance news ,finance jobs ,business finance ,financing ,jobs in finance ,finance companies ,personal finance software ,finance careers ,international finance ,finance company ,careers in finance ,finance internships ,personal finance articles ,security finance ,heights finance ,healthcare finance ,finance software ,corporate finance ,stock market prices ,yhoo finance ,cnn finance ,finance articles ,finance help ,finance magazines ,finance job ,home finance software ,finance.com ,finance calculator ,household finance ,top finance ,finance dictionary ,finance recruiters ,help with finances ,personal finance advice ,career in finance ,finance calculator online ,project finance ,finance internship ,gogle finance ,finance career ,personal finance education ,journal of finance ,corporate finance jobs ,finance quotes ,consumer finance ,money finance ,finance advisor ,pioneer finance ,personal finances ,free finance software ,finance manager ,mba in finance ,online finance courses ,finance education ,finance analyst ,consumer finance companies ,finance tutor ,stock market ,historical stock prices ,global finance ,finance major ,islamic finance ,online personal finance ,finance certifications ,eagle finance ,kiplinger personal finance ,city finance